Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13521
Title: | ปัญหากฎหมายการพักอาศัยของคนต่างด้าวตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 |
Other Titles: | Legal problems on residence of Aliens According to Immigration Act B.E. 2522 |
Authors: | ปัณณวิช ทัพภวิมล ไตรภพ นามวงศา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี คนต่างด้าว--ที่อยู่อาศัย--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับอาชญากรรมคนเข้าเมือง และมาตรการควบคุมคนต่างด้าวเข้าเมือง (2) ศึกษาเปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับคนเข้าเมืองของประเทศไทย สหรัฐอเมริกา และสาธารณรัฐสิงคโปร์ (3) การวิเคราะห์มาตรการทางกฎหมายคนเข้าเมืองของประเทศไทย (4) ศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522การค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยจากเอกสาร ผู้ศึกษาได้ค้นคว้าพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 และพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 หนังสือ บทความทางวิชาการ และสิ่งตีพิมพ์อื่น ๆ ของประเทศไทย สหรัฐอเมริกา และสาธารณรัฐสิงคโปร์ รวมถึงข้อมูลออนไลน์เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการศึกษาผลการศึกษา พบว่า (1) อาชญากรรมคนเข้าเมืองนั้นเป็นพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนจากสังคมซึ่งจะต้องการควบคุมอาชญากรรมคนเข้าเมืองเนื่องจากมีลักษณะเป็นอันตรายที่เกิดจากสังคมข้ามดินแดน (2) จากการเปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายพบว่าประเทศไทย สหรัฐอเมริกา และสาธารณรัฐสิงคโปร์บัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับการพักอาศัยของคนต่างด้าวมีทั้งคล้ายคลึงกันที่ คนต่างด้าวของแต่ละประเทศต้องแจ้งที่พักอาศัยให้กับเจ้าหน้าที่ทราบ ทุกประเทศจะห้ามคนต่างด้าวทำงานอย่างเคร่งครัด ยกเว้นประเทศไทยที่มีข้อยกเว้นให้ทำงานได้ และในส่วนของบทลงโทษเกี่ยวกับกฎหมายที่พักอาศัย บทลงโทษแตกต่างกัน (3) การแจ้งการพักอาศัยของคนต่างด้าว ประเทศไทยมีการบัญญัติกฎหมายซ้ำซ้อนและความไม่ชัดเจนของการนิยามคำว่า “โรงแรม” ตามมาตรา 4 พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ที่ให้หมายความรวมถึงที่พักชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม เนื่องจากยังมีสถานที่ตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 ไม่ถือว่าเป็นโรงแรม สำหรับการอนุญาตทำงานสำหรับคนต่างด้าวที่พำนักในราชอาณาจักรชั่วคราวประเทศไทยจะมีข้อยกเว้นให้สามารถทำงานได้ต่างกับสหรัฐอเมริกา และสาธารณรัฐสิงคโปร์ที่กำหนดชัดเจนว่าห้ามคนต่างด้าวผู้ใดที่ได้รับอนุญาตให้เดินทางเข้าไปเพื่อการท่องเที่ยวทำงานหรือประกอบอาชีพ นอกจากนี้ประเทศไทยยังการกำหนดโทษปรับสำหรับการไม่แจ้งการพักอาศัยของคนต่างด้าวต่างกับสาธารณรัฐสิงคโปร์จะกำหนดโทษปรับหรือจำคุก รวมถึงโบยไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง (4) เห็นควรแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 4 มาตรา 37 และมาตรา 77 ของพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 โดยมาตรา 4 เกี่ยวกับคำนิยาม โดยตัดคำว่า “ผู้จัดการโรงแรม” ออก จากมาตรา 4 และตัดคำว่า “กฎหมายเกี่ยวกับโรงแรม” แต่ให้ใช้คำว่า “สถานบริการที่พักอาศัย” เพื่อจะไม่หมายความเฉพาะแค่โรงแรมตามกฎหมายโรงแรมเท่านั้น เนื่องจากปัจจุบันมีธุรกิจบริการเกี่ยวกับที่พักที่มีความหมายมากกว่าคำว่าโรงแรม ในส่วนมาตรา 37 (1) จะกำหนดให้ชัดเจนเกี่ยวกับการห้ามประกอบอาชีพหรือรับจ้างทำงาน และมาตรา 77 ให้เพิ่มวรรคสอง และกำหนดพฤติการณ์สำหรับการเพิ่มโทษจำคุกเช่นเดียวกับความผิดลหุโทษ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13521 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2654002811.pdf | 1.85 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.