กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13521
ชื่อเรื่อง: | Legal Problems on Residence of Aliens according to Immigration Act B.E. 2522 ปัญหากฎหมายการพักอาศัยของคนต่างด้าวตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | TRAIPHOP NAMWONGSA ไตรภพ นามวงศา Punnawit Tuppawimol ปัณณวิช ทัพภวิมล Sukhothai Thammathirat Open University Punnawit Tuppawimol ปัณณวิช ทัพภวิมล [email protected] [email protected] |
คำสำคัญ: | การพักอาศัยของคนต่างด้าว คนเข้าเมือง โทษไม่แจ้งการพักของคนต่างด้าว Residence of aliens immigrant penalty for non-notification of residence for aliens |
วันที่เผยแพร่: | 8 |
สำนักพิมพ์: | Sukhothai Thammathirat Open University |
บทคัดย่อ: | The purposes of this independent study were; (1) to study the concept and theories related immigrant crime as well measures to control aliens, (2) to study and compare legal measures on immigrant both of Thailand and foreign countries, (3) to analyze legal measures on immigrant of Thailand and (4) to study guidelines for resolving problems on enforcement of Immigration Act B.E. 2522.This independent study was qualitative research conducted by documentary research. The researcher studied Immigration Act B.E. 2522, Working of Aliens Act B.E.2551, Hotel Act B.E. 2547, books, academic articles and other printing matters both Thailand and foreign countries as well as online dataThere are impact studies that show (1) immigrant crime was defined as a behavior which clearly deviated from the society,therefore, illegal immgration that leads to crimes shoud be controlled and prohibited according infractions and violences (2) From a comparison of legal measures was found that Thailand, the United States and the Republic of Singapore have similar laws regarding the residence of aliens. In the law regulated that aliens from any countries were determind to notify officials of their residences. Moreover, in all countries strictly forbid aliens from working, except for Thailand which has an conditioinal exception allowing them to work. In terms of penalties concerning residence laws, the penalties are dissimilar from each other. (3) For notification of Alien Residency, Thailand has enacted complicated legislation also unclear definition of the term “hotel” under Section 4 of the Immigration Act B.E. 2522, which includes temporary accommodation under the Hotel Act. Because of places where are still under the Hotel Act B.E. 2547 are not considered as hotels. In term of work permits for aliens temporarily residing in the Kingdom, Thailand has exception to allow them to work, which is entirely different from the United States and the Republic of Singapore, which distinctly state that any alien who has been granted permission to travel to the Kingdom for tourism, work or occupation is prohibited. In addition, Thailand also imposes a fine for failure to notify the residence of aliens, which is completely different from the Republic of Singapore, where strictly imposes a fine or imprisonment, including not less than 3 lashes. (4) It is appropriate to amend Section 4, Section 37 and Section 77 of the Immigration Act B.E. 2522 by Section 4 concerning definitions by deleting the words “hotel manager” from Section 4 and removing the words “ law regarding hotel” and replace by using the word “accommodation that serviced for occupancy” so that it does not only mean a hotel under the hotel law because at present, there is a kind of business providing accommodation that has a meaning other than the word “hotel”. In Section 37 (1), it should be clearly stated in the prohibition of working or being hired for work and Section 77 should be considered to add a second paragraph also specify the circumstances for rising the prison sentence as for minor offenses. การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับอาชญากรรมคนเข้าเมือง และมาตรการควบคุมคนต่างด้าวเข้าเมือง (2) ศึกษาเปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับคนเข้าเมืองของประเทศไทย สหรัฐอเมริกา และสาธารณรัฐสิงคโปร์ (3) การวิเคราะห์มาตรการทางกฎหมายคนเข้าเมืองของประเทศไทย (4) ศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522การค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยจากเอกสาร ผู้ศึกษาได้ค้นคว้าพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 และพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 หนังสือ บทความทางวิชาการ และสิ่งตีพิมพ์อื่น ๆ ของประเทศไทย สหรัฐอเมริกา และสาธารณรัฐสิงคโปร์ รวมถึงข้อมูลออนไลน์เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการศึกษาผลการศึกษา พบว่า (1) อาชญากรรมคนเข้าเมืองนั้นเป็นพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนจากสังคมซึ่งจะต้องการควบคุมอาชญากรรมคนเข้าเมืองเนื่องจากมีลักษณะเป็นอันตรายที่เกิดจากสังคมข้ามดินแดน (2) จากการเปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายพบว่าประเทศไทย สหรัฐอเมริกา และสาธารณรัฐสิงคโปร์บัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับการพักอาศัยของคนต่างด้าวมีทั้งคล้ายคลึงกันที่ คนต่างด้าวของแต่ละประเทศต้องแจ้งที่พักอาศัยให้กับเจ้าหน้าที่ทราบ ทุกประเทศจะห้ามคนต่างด้าวทำงานอย่างเคร่งครัด ยกเว้นประเทศไทยที่มีข้อยกเว้นให้ทำงานได้ และในส่วนของบทลงโทษเกี่ยวกับกฎหมายที่พักอาศัย บทลงโทษแตกต่างกัน (3) การแจ้งการพักอาศัยของคนต่างด้าว ประเทศไทยมีการบัญญัติกฎหมายซ้ำซ้อนและความไม่ชัดเจนของการนิยามคำว่า “โรงแรม” ตามมาตรา 4 พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ที่ให้หมายความรวมถึงที่พักชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม เนื่องจากยังมีสถานที่ตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 ไม่ถือว่าเป็นโรงแรม สำหรับการอนุญาตทำงานสำหรับคนต่างด้าวที่พำนักในราชอาณาจักรชั่วคราวประเทศไทยจะมีข้อยกเว้นให้สามารถทำงานได้ต่างกับสหรัฐอเมริกา และสาธารณรัฐสิงคโปร์ที่กำหนดชัดเจนว่าห้ามคนต่างด้าวผู้ใดที่ได้รับอนุญาตให้เดินทางเข้าไปเพื่อการท่องเที่ยวทำงานหรือประกอบอาชีพ นอกจากนี้ประเทศไทยยังการกำหนดโทษปรับสำหรับการไม่แจ้งการพักอาศัยของคนต่างด้าวต่างกับสาธารณรัฐสิงคโปร์จะกำหนดโทษปรับหรือจำคุก รวมถึงโบยไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง (4) เห็นควรแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 4 มาตรา 37 และมาตรา 77 ของพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 โดยมาตรา 4 เกี่ยวกับคำนิยาม โดยตัดคำว่า “ผู้จัดการโรงแรม” ออก จากมาตรา 4 และตัดคำว่า “กฎหมายเกี่ยวกับโรงแรม” แต่ให้ใช้คำว่า “สถานบริการที่พักอาศัย” เพื่อจะไม่หมายความเฉพาะแค่โรงแรมตามกฎหมายโรงแรมเท่านั้น เนื่องจากปัจจุบันมีธุรกิจบริการเกี่ยวกับที่พักที่มีความหมายมากกว่าคำว่าโรงแรม ในส่วนมาตรา 37 (1) จะกำหนดให้ชัดเจนเกี่ยวกับการห้ามประกอบอาชีพหรือรับจ้างทำงาน และมาตรา 77 ให้เพิ่มวรรคสอง และกำหนดพฤติการณ์สำหรับการเพิ่มโทษจำคุกเช่นเดียวกับความผิดลหุโทษ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13521 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2654002811.pdf | 1.85 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น