กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13524
ชื่อเรื่อง: Legal Measures for Class Action in Consumers Cases: A Case Study of Debenture Investment Victims
มาตรการทางกฎหมายของการดำเนินคดีแบบกลุ่มในคดีผู้บริโภค: ศึกษากรณีผู้เสียหายจากการลงทุนหุ้นกู้
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: Bundit Amornvadeekul
บัณฑิตย์ อมรวดีกุล
Viman Kritpolviman
วิมาน กฤตพลวิมาน
Sukhothai Thammathirat Open University
Viman Kritpolviman
วิมาน กฤตพลวิมาน
[email protected]
[email protected]
คำสำคัญ: หุ้นกู้ คดีผู้บริโภค การดำเนินคดีแบบกลุ่ม
Debenture
Consumer Case
Class Action Lawsuit
วันที่เผยแพร่:  18
สำนักพิมพ์: Sukhothai Thammathirat Open University
บทคัดย่อ: This independent study aimed to: (1) explore the meaning, background, concepts, and theories related to class action lawsuits in cases of consumer suffered from debenture investments; (2) examine the relevant laws of the United States, the French Republic, and Thailand concerning the aforementioned issues; (3) analyze problems and obstacles by comparing relevant legal measures; and (4) propose recommendations for amending the law to enhance the effectiveness and fairness of class action lawsuits in cases where consumers have suffered harm from debenture investments.This independent study was a legal research investigation conducted using qualitative methods through documentary research. It involved studying laws related to securities and the stock market, consumer protection laws, and the procedures for consumer cases. It also covered class action lawsuits under the Civil Procedure Code and the Supreme Court President’s regulations on class action lawsuits. In addition, the research included academic textbooks, articles, and other documents from both domestic and international sources. The findings indicated that class action lawsuit for consumers harmed by debenture investments encountered persistent issues and limitations: (1) the law does not allow private organizations to act as plaintiffs, restricting consumers’ ability to seek redress; (2) the membership model appropriate for debenture cases should grant consumers the right to choose whether to join the group or not, whereby harmed consumers can only be members if they express their intent to join in writing; (3) measures or mechanisms should be implemented to expedite the investigation process, thereby reducing the time courts take to approve class action status; and (4) criteria for determining punitive damages should be revised to ensure they are appropriate and proportional to the severity of the wrongdoing. These limitations affect the efficiency of class action processes, preventing consumers from receiving adequate and fair protection. Introducing additional measures or guidelines would provide better support for consumers to achieve appropriate and equitable remedies, thereby enhancing the effectiveness of class actions and raising confidence in the capital market.
การศึกษาค้นคว้าอิสระฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความหมาย ความเป็นมา แนวคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับการดำเนินคดีแบบกลุ่มในคดีผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายจากการลงทุนหุ้นกู้ (2) ศึกษากฎหมายสหรัฐอเมริกา กฎหมายสาธารณรัฐฝรั่งเศส และกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับประเด็นดังกล่าว (3) นำข้อมูลมาวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคโดยเปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และ (4) นำเสนอแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย เพื่อให้การดำเนินคดีแบบกลุ่มในคดีผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายจากการลงทุนหุ้นกู้มีประสิทธิภาพและเป็นธรรมมากยิ่งขึ้นการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการศึกษาวิจัยทางกฎหมาย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการค้นคว้าข้อมูลทางเอกสาร โดยการศึกษาค้นคว้าจากกฎหมายเกี่ยวกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคและวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค การดำเนินคดีแบบกลุ่มตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการดำเนินคดีแบบกลุ่ม รวมไปถึงศึกษาค้นคว้าจากตำราทางวิชาการ บทความ และเอกสารอื่นๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศผลการศึกษาพบว่า การดำเนินคดีแบบกลุ่มในคดีผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายจากการลงทุนหุ้นกู้ยังคงมีปัญหาและข้อจำกัด คือ (1) การที่กฎหมายไม่เปิดช่องให้องค์กรเอกชนสามารถเป็นโจทก์ได้ ทำให้การเรียกร้องสิทธิเพื่อให้ได้รับการเยียวยาของผู้บริโภคมีข้อจำกัด (2) รูปแบบการเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มที่เหมาะสมกับคดีหุ้นกู้ ควรเป็นการให้สิทธิแก่ผู้บริโภคในการเลือกว่าจะเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มหรือไม่ โดยผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายจะมีสถานะเป็นสมาชิกกลุ่มได้ ก็ต่อเมื่อมีการแสดงเจตนาแจ้งความประสงค์เป็นหนังสือว่าจะเข้าเป็นสมาชิกกลุ่ม (3) ควรเพิ่มมาตรการหรือกลไกเพื่อช่วยเร่งรัดกระบวนการไต่สวนที่จะช่วยลดระยะเวลาที่ศาลใช้ในการอนุญาตรับเป็นคดีแบบกลุ่ม และ (4) ควรปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำหนดค่าเสียหายเพื่อการลงโทษให้มีความเหมาะสมและได้สัดส่วนกับพฤติการณ์การกระทำความผิดที่มีความร้ายแรง ซึ่งข้อจำกัดเหล่านี้ส่งผลต่อประสิทธิภาพของการดำเนินคดีแบบกลุ่มอันจะทำให้ผู้บริโภคไม่ได้รับความคุ้มครองอย่างเพียงพอและเป็นธรรม การนำเสนอมาตรการหรือหลักเกณฑ์เพิ่มเติมจะทำให้เป็นประโยชน์และสามารถคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับการเยียวยาได้อย่างเหมาะสมและเป็นธรรมยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้การดำเนินคดีแบบกลุ่มเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความเชื่อมั่นในการลงทุนให้เกิดกับตลาดทุนต่อไป
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13524
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2654003157.pdf1.3 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น