กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13525
ชื่อเรื่อง: | ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ของปัญญาประดิษฐ์ กรณีการทำเหมืองข้อความและข้อมูล |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Exception to copyright infringement of artificial intelligence the case of text and data mining |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วิมาน กฤตพลวิมาน หทัยชนก นะลิตา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี การละเมิดลิขสิทธิ์ เหมืองข้อมูลในการบังคับใช้กฎหมาย การศึกษาอิสระ--กฎหมายธุรกิจ |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และกระบวนการทำงานของปัญญาประดิษฐ์ (2) ศึกษาข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ของปัญญาประดิษฐ์ กรณีการทำเหมืองข้อความและข้อมูล ซึ่งเป็นประเด็นที่เกี่ยวพันกับการคุ้มครองภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์สหภาพยุโรป ประเทศญี่ปุ่น กฎหมายสหรัฐอเมริกา และกฎหมายไทย (3) วิเคราะห์เปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับข้อยกเว้นการ ละเมิดลิขสิทธิ์ของปัญญาประดิษฐ์ กรณีการทำเหมืองข้อความและข้อมูล และ (4) เสนอแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศไทยในประเด็นดังกล่าว การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสารเป็นหลัก ซึ่งได้ศึกษาค้นคว้าจากตัวบทกฎหมาย คำพิพากษา หนังสือตำรา บทความและงานวิจัยของนักวิชาการทางกฎหมาย ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ รวมถึงสืบค้นฐานข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า (1) ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ส่งผลให้วิทยาการด้านคอมพิวเตอร์มีความสามารถเทียบเท่าหรืออาจจะมากกว่าความสามารถของมนุษย์ในบางเรื่อง จึงได้มีการนำเอาปัญญาประดิษฐ์มาใช้เป็นเครื่องมือในการทำงานของมนุษย์ในปัจจุบันมากขึ้น แต่ปัญญาประดิษฐ์จะมี ประสิทธิภาพในการทำงานอย่างแม่นยำก็ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ปัญญาประดิษฐ์ได้เรียนรู้ในลักษณะการทำเหมืองข้อความและข้อมูล ยิ่งมีข้อมูลให้ปัญญาประดิษฐ์เรียนรู้หรือที่เรียกว่า การเรียนรู้ของเครื่องได้มากเท่าไหร่ ศักยภาพในการทำงานของปัญญาประดิษฐ์ก็จะมีมากเท่านั้น โดยประเด็นสำคัญที่เกี่ยวพันกับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ คือ ข้อมูลดังกล่าวอาจจะเป็นข้อมูลอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่น (2) หากมีความประสงค์จะใช้ข้อมูล กรณีจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้เป็นเจ้าของหรือเป็นกรณีที่กฎหมายได้บัญญัติถึงข้อยกเว้นที่สามารถนำข้อมูลอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นไปใช้ได้โดยไม่ต้องได้รับอนุญาต (3) จากการวิเคราะห์เปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายพบว่าพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของไทยยังไม่ปรากฏการกำหนดให้การทำเหมืองข้อความและข้อมูลเป็น ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ของปัญญาประดิษฐ์อย่างชัดเจนอย่างเช่นกฎหมายลิขสิทธิ์ของสหภาพยุโรป และประเทศญี่ปุ่น หรือมาตรการทางกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์อย่างเช่นสหรัฐอเมริกา (4) ผู้ศึกษาจึงเสนอให้กำหนดแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศไทยในส่วนที่เป็นมาตรการทางกฎหมาย เกี่ยวกับข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ของปัญญาประดิษฐ์ กรณีการทำเหมืองข้อความและข้อมูลที่เหมาะสม |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13525 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2654003223.pdf | 1.98 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น