Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13525
Title: | Exception to Copyright Infringement of Artificial IntelligenceThe Case of Text and Data Mining ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ของปัญญาประดิษฐ์ กรณีการทำเหมืองข้อความและข้อมูล |
Authors: | Hathaichanok Nalita หทัยชนก นะลิตา Viman Kritpolviman วิมาน กฤตพลวิมาน Sukhothai Thammathirat Open University Viman Kritpolviman วิมาน กฤตพลวิมาน [email protected] [email protected] |
Keywords: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และกระบวนการทำงานของปัญญาประดิษฐ์ (2) ศึกษาข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ของปัญญาประดิษฐ์ กรณีการทำเหมืองข้อความและข้อมูล ซึ่งเป็นประเด็นที่เกี่ยวพันกับการคุ้มครองภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์สหภาพยุโรป ประเทศญี่ปุ่น กฎหมายสหรัฐอเมริกา และกฎหมายไทย (3) วิเคราะห์เปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ของปัญญาประดิษฐ์ กรณีการทำเหมืองข้อความและข้อมูล และ (4) เสนอแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศไทยในประเด็นดังกล่าว การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสารเป็นหลัก ซึ่งได้ศึกษาค้นคว้าจากตัวบทกฎหมาย คำพิพากษา หนังสือตำรา บทความและงานวิจัยของนักวิชาการทางกฎหมาย ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ รวมถึงสืบค้นฐานข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า (1) ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ส่งผลให้วิทยาการด้านคอมพิวเตอร์มีความสามารถเทียบเท่าหรืออาจจะมากกว่าความสามารถของมนุษย์ในบางเรื่อง จึงได้มีการนำเอาปัญญาประดิษฐ์มาใช้เป็นเครื่องมือในการทำงานของมนุษย์ในปัจจุบันมากขึ้น แต่ปัญญาประดิษฐ์จะมีประสิทธิภาพในการทำงานอย่างแม่นยำก็ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ปัญญาประดิษฐ์ได้เรียนรู้ในลักษณะการทำเหมืองข้อความและข้อมูล ยิ่งมีข้อมูลให้ปัญญาประดิษฐ์เรียนรู้หรือที่เรียกว่า การเรียนรู้ของเครื่องได้มากเท่าไหร่ ศักยภาพในการทำงานของปัญญาประดิษฐ์ก็จะมีมากเท่านั้น โดยประเด็นสำคัญที่เกี่ยวพันกับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ คือ ข้อมูลดังกล่าวอาจจะเป็นข้อมูลอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่น (2) หากมีความประสงค์จะใช้ข้อมูล กรณีจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้เป็นเจ้าของหรือเป็นกรณีที่กฎหมายได้บัญญัติถึงข้อยกเว้นที่สามารถนำข้อมูลอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นไปใช้ได้โดยไม่ต้องได้รับอนุญาต (3) จากการวิเคราะห์เปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายพบว่า พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของไทยยังไม่ปรากฏการกำหนดให้การทำเหมืองข้อความและข้อมูลเป็นข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ของปัญญาประดิษฐ์อย่างชัดเจนอย่างเช่นกฎหมายลิขสิทธิ์ของสหภาพยุโรป และประเทศญี่ปุ่น หรือมาตรการทางกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์อย่างเช่นสหรัฐอเมริกา (4) ผู้ศึกษาจึงเสนอให้กำหนดแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศไทยในส่วนที่เป็นมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ของปัญญาประดิษฐ์ กรณีการทำเหมืองข้อความและข้อมูลที่เหมาะสม Exception to Copyright Infringement of Artificial IntelligenceThe Case of Text and Data Mining |
Issue Date: | 21 |
Publisher: | Sukhothai Thammathirat Open University |
Abstract: | This independent study aimed to (1) study the concepts, theories and working method of artificial intelligence (AI); (2) explore exceptions to copyright infringement by AI in the case of text and data mining. The study focuses on the issues related to copyright protection under the European Union law, Japan law, the United States law and Thai law; (3) comparatively analyze legal measures concerning exceptions to copyright infringement by AI in the case of text and data mining; and (4) propose guidelines for improving Thai copyright laws in this specific context. This independent study is qualitative research primarily based on document analysis. It examines legal texts, court judgments, books, articles, and academic research on laws in both Thai and foreign languages. Moreover, it includes other related online database searches. The study’s findings are as follows. (1) Technological advancement has led to the development of computer science capabilities that can equal or surpass human abilities in certain areas. Consequently, AI is increasingly used as a tool for human tasks. The efficiency and accuracy of AI depend on the data it learns from, through processes such as text and data mining. The more data available for AI to learn, known as machine learning, the greater its performance potential. A critical issue related to copyright protection is that the data used for AI learning might be copyrighted; (2) If one wishes to use such data, permission from the copyright owner is required unless it falls under legal exemptions; (3) Based on the contrastive analysis of legal measures, the Thai Copyright Act of 1994 does not explicitly include text and data mining as an exemption to AI-related copyright infringement, unlike the European Union and Japan copyright law or other legal measures relate to AI such as those of the United States; (4) The researcher suggests that the Thai copyright law should be amended to include legal measures regarding exemptions for AI in the context of text and data mining. ชื่อการศึกษาค้นคว้าอิสระ ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ของปัญญาประดิษฐ์ กรณีการทำเหมืองข้อความและข้อมูล |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13525 |
Appears in Collections: | Law-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2654003223.pdf | 1.98 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.