กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13526
ชื่อเรื่อง: The Suitability To Determine The Conditions of Provisional Release: A Study of The Condition not to Leave The Residence
ความเหมาะสมในการกำหนดเงื่อนไขระหว่างปล่อยชั่วคราว: ศึกษากรณีการห้ามออกจากที่อยู่อาศัย
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: Yanatchara Rattanaprom
ญาณัจฉรา รัตนพรม
Punnawit Tuppawimol
ปัณณวิช ทัพภวิมล
Sukhothai Thammathirat Open University
Punnawit Tuppawimol
ปัณณวิช ทัพภวิมล
[email protected]
[email protected]
คำสำคัญ: การปล่อยชั่วคราว ห้ามออกจากที่อยู่อาศัย การสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์
Provisional release
not to leave the residence
presumption of innocence
วันที่เผยแพร่:  10
สำนักพิมพ์: Sukhothai Thammathirat Open University
บทคัดย่อ: This independent study aimed to: (1) study the history, concepts, and theories related to the conditions of provisional release: a study of the condition not to leave the residence; (2) study legal provisions in regards to the conditions of provisional release: a study of the condition not to leave the residence in Thailand, the USA, and France; (3) to analyze and to compare legal measures in Thailand with the USA France,  (4) to provide recommendations in regards to the development and improvement of the conditions of provisional release: a study of the condition not to leave the residence in Thailand.                The research employed qualitative methodology, relying mainly on documentary research techniques. Collected materials include codes of law from Thailand, the USA, and France; and excerpts from books, articles, academic journals, thesis, and other information from the internet related to the topic. The qualitative data was then analyzed to create recommendations based on the objectives of the research.The result of this study shows that (1) the condition not to leave the residence in the provisional release is not according to presumption of innocence; (2) United States and France both have the condition not to leave the residence in the provisional release inside their criminal procedure codes or in their act, however there is no clearly legislation about the condition not to leave the residence in Thai criminal procedure codes or in any act; (3) Thailand has provided the conditions not to leave the residence in the provisional release only in the regulations of the President of the Supreme Court that can be easily amended; (4) The proposal of this study is to establish the legal that suitable to determine the conditions of provisional release and to rule the provisional release of the condition not to leave the residence in the Criminal Procedure Code.
การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ความทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับความเหมาะสมในการกำหนดเงื่อนไขห้ามออกจากที่อยู่อาศัยระหว่างปล่อยชั่วคราว (2) ศึกษาเปรียบเทียบบทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความเหมาะสมในการกำหนดเงื่อนไขห้ามออกจากที่อยู่อาศัยระหว่างปล่อยชั่วคราวตามกฎหมายของประเทศไทย กฎหมายระหว่างประเทศ และต่างประเทศ (3) ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาการกำหนดหลักเกณฑ์ในการใช้ดุลพินิจในการกำหนดเงื่อนไขของศาลประเทศไทยในการกำหนดเงื่อนไขการปล่อยชั่วคราว (4) เสนอแนะแนวทางการปรับปรุงหลักเกณฑ์การใช้ดุลพินิจในการปล่อยชั่วคราวการใช้ดุลยพินิจในการปล่อยชั่วคราวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน               การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยจากเอกสาร ผู้ศึกษาได้ทำการศึกษารวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กฎหมายของประเทศไทย กฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายของต่างประเทศ ซึ่งได้แก่ สหรัฐอเมริกา และสาธารณรัฐฝรั่งเศส รวมถึงหนังสือ บทความ วารสาร เอกสารทางวิชาการ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ และข้อมูลจากเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในส่วนของการวิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัย ได้วิเคระห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิเคราะห์จากข้อมูลที่ได้จากการวิจัยเอกสารข้างต้นเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะต่อไปผลจากการศึกษาพบว่า (1) การปล่อยชั่วคราวโดยกายการกำหนดเงื่อนไขห้ามออกจากที่อยู่อาศัยไม่เป็นไปตามหลักการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ แต่เพื่อเป็นการป้องกันสังคมให้ปลอดภัยจึงจำเป็นที่จะต้องมีการกำหนดเงื่อนไขห้ามออกจากที่อยู่อาศัยในระหว่างปล่อยชั่วคราวให้มีความเหมาะสม (2) สหรัฐอเมริกาและสาธารณรัฐฝรั่งเศสต่างก็มีการบัญญัติถึงความเหมาะสมในการกำหนดเงื่อนไขห้ามออกจากที่อยู่อาศัยไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หรือระดับรัฐบัญญัติ ทว่าประเทศไทยกลับมิได้กำหนดเงื่อนไขห้ามออกจากที่อยู่อาศัยไว้ในกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายระดับพระราชบัญญัติแต่อย่างใด (3) ประเทศไทยได้บัญญัติการปล่อยชั่วคราวโดยการกำหนดเงื่อนไขห้ามออกจากที่อยู่อาศัยไว้เพียงข้อบังคับประธานศาลฎีกา ซึ่งสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้โดยง่าย (4) ข้อเสนอแนะให้กำหนดหลักการกำหนดเงื่อนไขห้ามออกจากที่อยู่อาศัยในระหว่างปล่อยชั่วคราวให้มีความเหมาะสมและจะต้องมีการกำหนดให้ชัดเจนไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13526
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2654003603.pdf2.64 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น