Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13532
Title: | แนวทางการส่งเสริมการปลูกไผ่เลี้ยงในอำเภอภูกระดึงจังหวัดเลย |
Other Titles: | Extension of growing bambusa multiplex in Phu kradung District, Loei Province |
Authors: | เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ ชายแดน ภาวะโคตร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา จินดา ขลิบทอง |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์ ไผ่--ไทย--เลย--การปลูก |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ศึกษาสภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ปลูกไผ่เลี้ยง ในอำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย 2) การใช้เทคโนโลยีการปลูกไผ่เลี้ยงของเกษตรกรผู้ปลูกไผ่เลี้ยง ในอำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย 3) ปัญหา และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีการปลูกไผ่เลี้ยงของเกษตรกรในอำเภอภูกระดึง 4) ความต้องการในรูปแบบและวิธีการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีการปลูกไผ่เลี้ยงของเกษตรกรในอำเภอภูกรดึง จังหวัดเลย การวิจัยคครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาศึกษาครั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างผู้ปลูกไผ่เลี้ยงในอำเภอภูกระดึง จำนวน 214 ราย จากเกษตรกรผู้ปลูกไผ่เลี้ยงในอำเภอภูกระดึงจำนวน 460 ราย โดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน ที่ระดับความคลาดเคลื่อน ร้อยลละ 0.05 สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดลำดับ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาจังหวัดเลย ผลการศึกษา พบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่ 56.54.8 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 37.57 ปี ร้อยละ 53.98 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.4 คน แรงงานในครัวเรือนมากสุดคือ 2 คน เฉลี่ย 2.87 คน รายได้ของครัวเรือนเกษตรกร เฉลี่ย 135,010.75 บาท เป็นรายได้ภาคการเกษตร เฉลี่ย 101,771.03 บาท นอกภาคการเกษตร เฉลี่ย 50,448.94 บาท เกษตรกรส่วนใหญ่มีที่ดินเป็นของตนเอง ร้อยละ 96.73 เฉลี่ยพื้นที่ 16.06 ไร่ นอกจากปลูกไผ่แล้ว เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกข้าวร้อยละ 91.59 การเป็นสมาชิกของเกษตรกร ส่วนใหญ่เป็นลูกค้า ธกส. คิดเป็นร้อยละ 49.ปี (2) เทคโนโลยีที่ใช้ในการปลูกไผ่ ส่วนใหญ่ปลูกไผ่ระยะห่าง 4x4 เมตร การให้น้ำส่วนใหญ่ให้น้ำด้วยระบบปล่อยน้ำราด ร้อยละ 62.62 ส่วนใหญ่ใช้น้ำจากบ่อน้ำคิดเป็นร้อยละ 46.73 ความถี่ในการให้น้ำส่วนใหญ่มากกว่า 5 วันต่อครั้ง ร้อยละ 42. การปรับปรุงบำรุงดินส่วนใหญ่ใช้ปุ๋ยเคมี ร้อยละ 77.10 มีการใช้สารเคมีที่ป้องกันโรคแมลงร้อยละ 97.2 ผลผลิตส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ร้อยละ 83.18 ด้านการตลาดการจำหน่ายผลผลิตส่วนใหญ่จำหน่ายให้กับพ่อค้าในหมู่บ้าน ร้อยละ 98.13 รูปแบบการจำหน่ายผลผลิตทั้งหน่อไม้สดและหน่อไม้แปรรูปร้อยละ เกษตรกรมีรายได้จากการปลูกไผ่ เฉลี่ยไร่ละ 29309.25 บาท ต้นทุนการผลิตไผ่ ไร่ละ 4,164.64 บาท (3) ปัญหาด้านการผลิตอยู่ในระดับปานกลาง รองลงมาได้แก่ปัญหาเรืองเงินทุนและแหล่งน้ำ ปัญหาเรื่องราคาและจำหน่ายผลผลิต (4) แนวทางในการส่งเสริมเกษตรกรผู้ปลูกหน่อไม้ในอำเภอภูกระดึง พบว่าเกษตรกรกรต้องการได้รับการสนับสนุนด้านความรู้ในการผลิตหน่อไม้ให้ได้ปริมาณและคุณภาพ การสนับสนุนเงินทุนเพื่อให้เกษตรกรสามารถจัดการระบบน้ำได้ดียิ่งขึ้น การส่งเสริมการตลาด เพิ่มช่องทางตลาด ส่งเสริมการรวมกลุ่มและสร้างเครือข่ายเพื่อความเข้มแข็งให้กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกไผ่เลี้ยง |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13532 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2619001205.pdf | 906.15 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.