Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13533
Title: แนวทางการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรตําบลพังเคน อําเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี
Other Titles: Extension guidelines for organic rice production by farmers in Phang ken Sub-district, Na tan District, Ubon Ratchathani Province
Authors: เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ
จิรวัฒน์ ทาเทพ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
นารีรัตน์ สีระสาร
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
ข้าว--เกษตรอินทรีย์--ไทย--อุบลราชธานี
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลสถานภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) ความรู้ในการผลิตข้าวตามมาตรฐานการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกร 3) การได้รับการส่งเสริมและความต้องการการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกร 4) ปัญหาการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกร และ 5) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกร ประชากร คือ เกษตรกรที่ทําการเพาะปลูกข้าวในพื้นที่ตําบลพังเคน อําเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี  สุ่มตัวอย่างมาจำนวน 147 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ความถี่ ค่าร้อยละ  ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการศึกษาพบว่า 1)เกษตรกรส่วนมากเป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 55.46  ปี ระดับการศึกษาสูงสุดอยู่ที่ประถมศึกษา มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.56  คน ส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการปลูกข้าว 20.13 ปีและไม่มีประสบการณ์ในการผลิตข้าวอินทรีย์ มีพื้นที่ทำนาเฉลี่ย 12.35 ไร่ ต้นทุนในการผลิตข้าวอินทรีย์ เฉลี่ย 2,217.96 บาท/ไร่ และรายได้ในการทำการเกษตรเฉลี่ย 2,217.96 บาท 2) เกษตรกรมีความรู้ตามมาตรฐานการผลิตข้าวอินทรีย์ในระดับปานกลางถึงมากที่สุด โดยมีความรู้ในประเด็นการจัดการดิน ปุ๋ยและน้ำและการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช โรคพืช และวัชพืช รองลงมาคือ การผลิตพืชอินทรีย์ระยะปรับเปลี่ยนเป็นเกษตรอินทรีย์ และการจัดการทั่วไปในแปลงผลิตข้าวอินทรีย์ ตามลำดับ 3) เกษตรกรส่วนน้อยได้รับการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ทั้งด้านเนื้อหาความรู้และวิธีการส่งเสริมแบบต่าง ๆ โดยมีความต้องการการส่งเสริมทั้งด้านเนื้อหาความรู้และวิธีการส่งเสริมแบบรายบุคคล โดยวิธีการเยี่ยมเยียนของเจ้าหน้าที่ของรัฐ 4) เกษตรกรมีปัญหาขาดความรู้ด้านเนื้อหาที่ได้รับการส่งเสริมไม่ครบถ้วนและจำนวนครั้งในการเยี่ยมเยียนของเจ้าหน้าที่น้อยเกินไป 5) เกษตรกรเห็นด้วยในระดับมากที่สุดกับข้อเสนอแนะให้มีการส่งเสริมแบบฝึกอบรมและเยี่ยมเยียน  การส่งเสริมแบบการบริการเบ็ดเสร็จ การส่งเสริมแบบมีส่วนร่วมและการส่งเสริมแบบโครงการ ส่วนแนวทางการส่งเสริมด้านเนื้อหาความรู้ เกษตรกรเห็นด้วยในระดับมากที่สุดกับข้อเสนอแนะให้มีการส่งเสริมตั้งแต่กระบวนการผลิตจนถึงตลาดข้าวอินทรัย์ และการจัดการกลุ่มและเครือข่าย
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13533
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2629000767.pdf1.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.