กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13533
ชื่อเรื่อง: | Extension Guidelines for Organic Rice Production by Farmers in Phang ken Sub-district, Na tan District, Ubon Ratchathani Province แนวทางการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ ของ เกษตรกรตําบลพังเคน อําเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | JIRAWAT THATHEP จิรวัฒน์ ทาเทพ Benchamas Yooprasert เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ Sukhothai Thammathirat Open University Benchamas Yooprasert เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ [email protected] [email protected] |
คำสำคัญ: | การส่งเสริมการเกษตร การผลิตข้าวอินทรีย์ Agricultural extension Organic rice production |
วันที่เผยแพร่: | 21 |
สำนักพิมพ์: | Sukhothai Thammathirat Open University |
บทคัดย่อ: | The purpose of this research was to study the basic social and economic status of farmers. Study the knowledge of rice production according to the standards of organic rice production by farmers. To study the promotion and promotion of organic rice production of farmers. Study the problem of farmers' promotion of organic rice production. and study the guidelines for promoting organic rice production by farmers The sample consisted of 147 farmers cultivating rice in Pangken Subdistrict. The statistics used to analyze the data were frequency, percentage, minimum, maximum, mean, standard deviation. and ranking The results of the study found that Farmers have knowledge of organic rice production standards of farmers. 100 percent answered correctly on knowledge of soil, fertilizer and water management and pest control and disease control, and farmers' need for promotion and promotion of organic rice production needs a method of promotion. individual media through government officials by visiting. Farmers have a lack of knowledge about the content that is not fully promoted and the number of visits by officials is too low. There were suggestions that they would like to receive continuous promotion and related agencies to support standardized product distribution channels and budget support. and guidelines for promoting organic rice production by farmers Regarding the promotion of training and visiting forms, it was found that farmers gave importance to the promotion of training and visiting forms. Regarding the promotion of training and visiting forms, it was found that farmers gave importance to the promotion of training and visiting forms. Regarding the promotion of integrated services, it was found that farmers gave importance to the promotion of integrated services and In terms of participatory promotion, it was found that farmers gave importance to participative promotion. Regarding the project promotion, it was found that the farmers gave importance to the weed promotion, followed by the production of organic crops during the transition period to organic agriculture. and general management in organic rice production plots, respectively. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลสถานภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) ความรู้ในการผลิตข้าวตามมาตรฐานการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกร 3) การได้รับการส่งเสริมและความต้องการการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกร 4) ปัญหาการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกร และ 5) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกร ประชากร คือ เกษตรกรที่ทําการเพาะปลูกข้าวในพื้นที่ตําบลพังเคน อําเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี สุ่มตัวอย่างมาจำนวน 147 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการศึกษาพบว่า 1)เกษตรกรส่วนมากเป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 55.46 ปี ระดับการศึกษาสูงสุดอยู่ที่ประถมศึกษา มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.56 คน ส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการปลูกข้าว 20.13 ปีและไม่มีประสบการณ์ในการผลิตข้าวอินทรีย์ มีพื้นที่ทำนาเฉลี่ย 12.35 ไร่ ต้นทุนในการผลิตข้าวอินทรีย์ เฉลี่ย 2,217.96 บาท/ไร่ และรายได้ในการทำการเกษตรเฉลี่ย 2,217.96 บาท 2) เกษตรกรมีความรู้ตามมาตรฐานการผลิตข้าวอินทรีย์ในระดับปานกลางถึงมากที่สุด โดยมีความรู้ในประเด็นการจัดการดิน ปุ๋ยและน้ำและการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช โรคพืช และวัชพืช รองลงมาคือ การผลิตพืชอินทรีย์ระยะปรับเปลี่ยนเป็นเกษตรอินทรีย์ และการจัดการทั่วไปในแปลงผลิตข้าวอินทรีย์ ตามลำดับ3) เกษตรกรส่วนน้อยได้รับการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ทั้งด้านเนื้อหาความรู้และวิธีการส่งเสริมแบบต่างๆ โดยมีความต้องการการส่งเสริมทั้งด้านเนื้อหาความรู้และวิธีการส่งเสริมแบบรายบุคคล โดยวิธีการเยี่ยมเยียนของเจ้าหน้าที่ของรัฐ 4) เกษตรกรมีปัญหาขาดความรู้ด้านเนื้อหาที่ได้รับการส่งเสริมไม่ครบถ้วนและจำนวนครั้งในการเยี่ยมเยียนของเจ้าหน้าที่น้อยเกินไป 5) เกษตรกรเห็นด้วยในระดับมากที่สุดกับข้อเสนอแนะให้มีการส่งเสริมแบบฝึกอบรมและเยี่ยมเยียน การส่งเสริมแบบการบริการเบ็ดเสร็จ การส่งเสริมแบบมีส่วนร่วมและการส่งเสริมแบบโครงการ ส่วนแนวทางการส่งเสริมด้านเนื้อหาความรู้ เกษตรกรเห็นด้วยในระดับมากที่สุดกับข้อเสนอแนะให้มีการส่งเสริมตั้งแต่กระบวนการผลิตจนถึงตลาดข้าวอินทรัย์ และการจัดการกลุ่มและเครือข่าย |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13533 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2629000767.pdf | 1.48 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น