กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13537
ชื่อเรื่อง: | การตัดสินใจเข้าร่วมโครงการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระของสมาชิกสหกรณ์จังหวัดจันทบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Project management to resolve outstanding debts of cooperative members Chanthaburi Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | บริบูรณ์ ปิ่นประยงค์ วัจริยาภรณ์ ภูมิผักแว่น มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี การบรรเทาภาระหนี้--ไทย--จันทบุรี การศึกษาอิสระ--สหกรณ์ |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเข้าร่วมโครงการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระของสมาชิกสหกรณ์ จังหวัดจันทบุรี 2) ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการเข้าร่วมโครงการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระ ของสมาชิกสหกรณ์ จังหวัดจันทบุรี 3) แนวทางการดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระของสมาชิกสหกรณ์ จังหวัดจันทบุรี ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ สมาชิกเข้าร่วมโครงการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระของสมาชิกสหกรณ์ จำนวน 1,308 คนจาก 6 สหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการ ใช้สูตรคำนวณของทาโร่ ยามาเน่ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% และค่าความคลาดเคลื่อน 5% จำนวน 307 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็น เพศหญิง อายุมากกว่า 50 ปี สถานภาพสมรส ระดับการศึกษาชั้นมัธยมศึกษา อาชีพเกษตรกร ส่วนใหญ่กู้เงินจำนวน 10,001-500,000 ระยะเวลาส่งคืนเงินกู้ 3 ปี 2) ปัจจัยด้านทัศนคติของสมาชิกที่มีต่อสหกรณ์ และต่อเจ้าหน้าที่สหกรณ์ มีระดับความสำคัญมากที่สุดในการเข้าร่วมโครงการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระของสมาชิกสหกรณ์ จังหวัดจันทบุรี 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านทัศนคติของสมาชิกสหกรณ์กับปัจจัยการเข้าร่วมโครงการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระของสมาชิกสหกรณ์ มีความสัมพันธ์ค่อนข้างมาก (r=.732) และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และ 4) ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ พบว่าปัจจัยทัศนคติต่อสหกรณ์ และ ปัจจัยทัศนคติต่อโครงการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระของสมาชิกสหกรณ์ส่งผลต่อการเข้าร่วมเกี่ยวกับโครงการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระของสมาชิกสหกรณ์ ในระดับการพยากรณ์ที่ประสิทธิภาพร้อยละ 43.7 แสดงให้เห็นว่าแนวทางการดำเนินโครงการให้ประสบความสำเร็จ ควรการสร้างความเชื่อมั่นและทัศนคติที่ดีต่อสหกรณ์และโครงการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระแก่สมาชิกสหกรณ์ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13537 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2639001565.pdf | 715.42 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น