กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13540
ชื่อเรื่อง: Study of Chumphon 1 Hybrid Cocoa in Organic Farming System of Prachin Buri Starch Company Limited, Prachin Buri Province
การศึกษาการผลิตโกโก้ลูกผสมชุมพร 1 ในระบบเกษตรอินทรีย์ของบริษัทปราจีนบุรีสตาร์ชจำกัด จังหวัดปราจีนบุรี
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: NITIPAT KONGPHAT
นิติพัฒน์ กงเพชร
Sujja Banchongsiri
สัจจา บรรจงศิริ
Sukhothai Thammathirat Open University
Sujja Banchongsiri
สัจจา บรรจงศิริ
[email protected]
[email protected]
คำสำคัญ: การจัดการการผลิต โกโก้ลูกผสมชุมพร 1 ระบบเกษตรอินทรีย์
Production management Chumphon 1 Hybrid Cocoa Organic farming system
วันที่เผยแพร่:  21
สำนักพิมพ์: Sukhothai Thammathirat Open University
บทคัดย่อ: This study aims to examine 1) the area of Chumphon 1 Hybrid Cocoa production in an organic farming system; 2) the management of Chumphon 1 Hybrid Cocoa production in an organic farming system; 3) the growth of Chumphon 1 Hybrid Cocoa production in the organic farming system. This study is survey research by 1) examining the production area by using a secondary data recording form to examine the soil and geographic condition from the Prachin Buri Meteorological Station report; 2) examine production management by interviewing cocoa entrepreneurs in depth; 3) examine the growth by randomly sampling cocoa trees at 5,8,11,15 and 18 months (30 samples for each age group). Data was collected by using the growth report form. Quantitative data was analyzed using descriptive statistics, while qualitative data was analyzed using content analysis. The study found that 1) the cocoa production area is flat to mostly flat, with soil set belonging to 22hi Series Lah, the soil is somewhat sandy with low fertility, pH value of 4.5-5.0, and poor to moderate drainage. The climate had average humidity of 79.7%, 1,708.2 millimeters of rainfall per annum, and average temperature of 28.8 degrees Celsius; 2) regarding the production management, the production system was certified organic with (1) contamination prevention with standing trees and canals around the plot as barriers; (2) the soil was prepared by roughly plowing with the planting distance being 4x4 meter and planting pit being 30 x 30 x30 centimeters, with ready-made organic fertilizer lining the pit; (3) There were seedling selection and nursery; (4) Water supply from the local pit was used to water the plants three times a week based on age; (5) compost, manure, and dolomite were given in the soil, while compose juice and ready-made leaf fertilizer were fed through the leaves; (6) the branches were trimmed to resemble vases; 7) pest removal was done by tactors, while disease and insects were removed by cleaning the plots and using biological products; (8) harvesting was based on the color of the fruit skin, and done by cutting with scissors, leaving the fruit in the basket, cleaning, drying, and then stored in vessels or shelves after noting the weight; (9) There was recording of production data, production factor utilization and source; 3) regarding the growth of Chumphon 1 Hybrid Cocoa production in organic farming system, the cocoa trees of 5, 8, 11, 15, and 18 months old had the average height, diameter, canopy size, and main branch numbers as follows: at 5 months: 209, 3, 106 cm., and 4 branches , at 8 months: 236, 4, 157 cm., and 4 branches, at 11 months: 239, 4, 171 cm., and 5 branches, at 15 months 273, 6, 265 cm., and 4 branches, and 18 months: 290, 8, 287 cm., and 5 branches respectively. The cocoa trees at 15 and 18 months old would start bearing fruits with the average number being 26 and 43, and the average fresh fruit weight being 9.9 and 19.4 kilograms respectively.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นที่ของการผลิตโกโก้ลูกผสมชุมพร 1 ในระบบเกษตรอินทรีย์ 2) การจัดการการผลิตโกโก้ลูกผสมชุมพร 1 ในระบบเกษตรอินทรีย์ 3) การเจริญเติบโตโกโก้ลูกผสมชุมพร 1 ในระบบเกษตรอินทรีย์การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดย 1) การศึกษาสภาพพื้นที่การผลิต ใช้แบบบันทึกข้อมูลมือสองศึกษาสภาพดินและภูมิประเทศ จากรายงานของสถานีพัฒนาที่ดินและสภาพภูมิอากาศศึกษาจากจากรายงานของสถานีอุตุนิยมวิทยาปราจีนบุรี 2) การศึกษาการจัดการการผลิต ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ประกอบการการผลิตพืชโกโก้ 3) การศึกษาการเจริญเติบโต โดยสุ่มต้นโกโก้ตามสัดส่วนแต่ละอายุคือ 5 8 11 15 และ 18 เดือน กลุ่มอายุละ 30 ต้น เก็บข้อมูลด้วยแบบบันทึกการเจริญเติบโต ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพพื้นที่การผลิตโกโก้ มีสภาพพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ ชุดดิน ละหานทราย Series Lah กลุ่มชุดดินที่ 22hi เนื้อดินเป็นดินค่อนข้างเป็นทราย ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ pH 4.5 - 5.0 ระบายน้ำค่อนข้างเลวถึงปานกลาง สภาพภูมิอากาศ ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย 79.7 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณฝน 1,708.2 มิลลิเมตรต่อปี อุณภูมิเฉลี่ย 28.8 องศาเซลเซียส 2) การจัดการการผลิต ระบบการผลิตเป็นแบบอินทรีย์มีการรับรอง (1) มีการป้องกันการปนเปื้อนโดยทำแนวกันชนด้วยไม้ยีนต้นและคลองรอบพื้นที่ (2) การเตรียมดินโดยไถดะ ระยะปลูก 4 X 4 เมตร หลุมปลูก 30 X 30 X 30 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยอินทรีย์สำเร็จรูป (3) มีการเลือกต้นพันธ์และการอนุบาลต้นกล้า (4) แหล่งน้ำจากบ่อในพื้นที่ ให้น้ำ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ตามอายุพืช (5) ปุ๋ยที่ให้ทางดินคือปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกและโดโลไมป์ ส่วนปุ๋ยทางใบให้น้ำหมักและปุ๋ยทางใบสำเร็จรูป (6) ตัดแต่งกิ่งทรงแจกัน (7) การจัดการศัตรูพืช วัชพืชใช้รถไถตัดหญ้า โรคและแมลง ใช้ทำสภาพแปลงให้สะอาด และใช้สารชีวภัณฑ์ (8) การเก็บเกี่ยวเก็บ ดูจากสีผิวผล ใช้กรรไกรตัด วางผลผลิตในตะกร้าแล้วนำมาล้างทำความสะอาด พักไว้ให้แห้งแล้วจึงจัดเก็บในภาชนะหรือชั้นวางเป็นชั้นๆ มีการบันทึกน้ำผนักผลผลิต (9) มีการจัดทำบันทึกข้อมูลการผลิต การใช้ปัจจัยการผลิตและแหล่งที่มา 3) การเจริญเติบโตโกโก้ลูกผสมชุมพร 1 ในระบบเกษตรอินทรีย์ พบว่า ต้นโกโก้อายุ 5 8 11 15 และ 18 เดือน มีค่าเฉลี่ย ความสูงต้น เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น ขนาดทรงพุ่ม และจำนวนกิ่งหลักคือ อายุ 5 เดือน 209 3 106 เซนติเมตร และ 4 กิ่ง อายุ 8 เดือน 236 4 157 เซนติเมตร และ 4 กิ่ง 11 เดือน 239 4 171 เซนติเมตร และ 5 กิ่ง 15 เดือน 273 6 265 เซนติเมตร และ 4 กิ่ง และ 18 เดือน 290 8 287 เซนติเมตร และ 5 กิ่ง ตามลำดับ โกโก้ที่อายุ 15 และ 18 เดือน จะเริ่มให้ผลผลิต โดยโกโก้ที่อายุ 15 และ 18 เดือน มีจำนวนผลเฉลี่ย 26 และ 43 ผล ตามลำดับ และมีน้ำหนักผลสด เฉลี่ย 9.9 และ 19.4 กิโลกรัม ตามลำดับ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13540
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2639002498.pdf4.99 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น