กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13542
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการพัฒนาการจัดการสวนยางพาราตามมาตรฐานการจัดการสวนป่าอย่างยั่งยืนบ้านปลายรำ ตำบลนาทวี อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Guidelines for developing rubber plantation management according to sustainable forest management standards, Ban Plai Ram, Nathawi Subdistrict, Nathawi District, Songkhla Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สัจจา บรรจงศิริ สุภาวดี เกศสุวรรณ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา บำเพ็ญ เขียวหวาน |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการจัดการทรัพยากรเกษตร--วิทยานิพนธ์ อุตสาหกรรมยางพารา การป่าไม้แบบยั่งยืน--ไทย--สงขลา |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิธีการจัดการสวนยางพาราของเกษตรกรบ้านปลายรำ 2) ประเมินศักยภาพของเกษตรกรที่ปลูกยางพาราเพื่อเข้าสู่แนวทางการจัดการสวนป่าอย่างยั่งยืนของเกษตรกร 3) จัดทำแนวทางการพัฒนาการจัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืนการวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี คือ 1) การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรชาวสวนยางพาราบ้านปลายรำ ที่ขึ้นทะเบียนกับการยางแห่งประเทศไทย จำนวน 137 คน กำหนดขนาดตามสูตรทาโร ยามาเน ที่ความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 110 ราย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ เลือกผู้ให้ข้อมูลเจาะจงจากเจ้าหน้าที่การยางแห่งประเทศไทย สาขานาทวี เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรกรเกี่ยวข้อง จำนวน 5 ราย และเกษตรกรชาวสวนยางพารา จำนวน 5 ราย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบบันทึกการประชุมกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการสวนยางพาราของเกษตรกร ส่วนใหญ่ปลูกยางพาราเชิงเขา ใช้พันธุ์ยาง RRIM 600 การกำจัดศัตรูพืชโดยใช้สารเคมี ผลผลิตที่จำหน่ายคือน้ำยางสด และเกษตรกรทุกรายจำหน่ายผลผลิตให้พ่อค้าคนกลาง 2) การประเมินศักยภาพของเกษตรกร (1) ด้านความรู้ในหลักการจัดการสวนป่าอย่างยั่งยืนทั้ง 10 หลักการ พบว่า ส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ 50 เกษตรกรไม่มีความรู้ (2) การประเมินศักยภาพด้านการปฏิบัติ พบว่า หลักการข้อ 1 ร้อยละ 63.0 ไม่ปฏิบัติเรื่องความสอดคล้องระหว่างกฎหมายกับหลักต่างๆของ FSC หลักการข้อ 2 ร้อยละ 80.9 ไม่ปฏิบัติเรื่องสิทธิการถือครองการใช้ประโยชน์จากที่ดิน หลักการข้อ 4 ร้อยละ 64.0 ไม่ปฏิบัติเรื่องความสัมพันธ์ต่างๆกับชุมชน หลักการข้อ 5 ร้อยละ 53.0 ไม่ปฏิบัติเรื่องผลประโยชน์จากป่าไม้ หลักการข้อ 6 ร้อยละ 56.3 ไม่ปฏิบัติเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หลักการข้อ 7 ร้อยละ 85.5 ไม่ปฏิบัติเรื่องกำหนดหลักการเป็นลายลักษณ์อักษร หลักการข้อ 8 ร้อยละ 94.5 ไม่ปฏิบัติเรื่องการตรวจตรากำกับดูแลและประเมินผล หลักการข้อ 9 ร้อยละ 72.1ไม่ปฏิบัติเรื่องการฟื้นฟูป่าไม้ที่มีคุณค่าต่อการอนุรักษ์สูง และหลักการข้อ 10 ร้อยละ 73.6 ไม่ปฏิบัติเรื่องการวางแผนการจัดการพื้นที่ 3) แนวทางการพัฒนาการจัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืน (1) ด้านการเรียนรู้ของเกษตรกรและคนรุ่นใหม่ให้มีความรู้เกี่ยวกับการจัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มอื่น (2) ด้านการพัฒนาการผลิต มีแผนงานเพื่อการเข้าสู่มาตรฐาน และมีการจัดการสวนโดยคำนึงถึงความปลอดภัยและการรับรองมาตรฐาน (3) ด้านการส่งเสริมของเจ้าหน้าที่ มีการถอดบทเรียนองค์ความรู้จากต้นแบบ สร้างสวนยางพาราต้นแบบ พัฒนาเกษตรกรให้มีองค์ความรู้ จัดการเอกสารสิทธิที่ดิน และมีการจัดทำปุ๋ยอินทรีย์ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการทรัพยากรเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13542 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2649000102.pdf | 2.73 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น