Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13544
Title: การใช้น้ำยางคอมพาวด์ในการเคลือบผิวกระดาษเส้นใยสับปะรดเพื่อใช้ในงานหัตถกรรม
Other Titles: Use of rubber compound in the surface coating of pineapple fiber paper for handicraft works
Authors: นาลัน แป้นปลื้ม
รัถยา วัฒนธันยานนท์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
จีรานุช บุดดีจีน
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการจัดการทรัพยากรเกษตร--วิทยานิพนธ์
น้ำยาง
การทำเยื่อกระดาษ
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปริมาณน้ำยางคอมพาวด์ที่เหมาะสมในการเคลือบผิวกระดาษเส้นใยสับปะรดต่อคุณภาพของกระดาษกันน้ำเพื่อใช้ในงานหัตถกรรม 2) การยอมรับของผู้บริโภคต่อคุณภาพของการใช้น้ำยางคอมพาวด์ในการเคลือบผิวกระดาษเส้นใยสับปะรดเพื่อใช้ในงานหัตถกรรม 3) การยอมรับของผู้ผลิตต่อการผลิตและคุณภาพของการใช้น้ำยางคอมพาวด์ในการเคลือบผิวกระดาษเส้นใยสับปะรดเพื่อใช้ในงานหัตถกรรม งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี คือ 1) การวิจัยเชิงทดลอง โดยใช้น้ำยางคอมพาวด์เคลือบผิวกระดาษเส้นใยสับปะรดในปริมาณ 35, 45, 55, 65 และ 0 กรัมต่อด้านของขนาดกระดาษ 40x55 ซม. จากนั้นทำให้แห้งโดยการอบที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส นาน 20 นาที วิเคราะห์โดยวิธีค่าเฉลี่ยร้อยละความแตกต่างจากการทดสอบการทนต่ออุณหภูมิต่ำและความชื้นต่ำ การบ่มความชื้น และการซึมน้ำ 2) การวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรมี 2 กลุ่ม ได้แก่ (1) ผู้ผลิตกระดาษใบสับปะรดและขี้ช้างป่ากุยบุรี อ.กุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 30 ราย ศึกษาจากประชากรทั้งหมด (2) ผู้บริโภค ได้แก่ ผู้ประกอบการผลิตสินค้าหัตถกรรมในงาน OTOP City 2023 ไม่ทราบขอบเขตประชากรคำนวณด้วยสูตรของ Roscoe, 1969 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 139 ราย เลือกตัวอย่างแบบสะดวก เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย 1) ปริมาณน้ำยางคอมพาวด์ที่เหมาะสมในการเคลือบผิวกระดาษเส้นใยสับปะรดต่อคุณภาพของกระดาษกันน้ำ พบว่า ด้านคุณสมบัติการกันน้ำ การเคลือบน้ำยางคอมพาวด์ 45 กรัม/ด้านมีค่าเฉลี่ยร้อยละความแตกต่างของการทนต่ออุณหภูมิต่ำและความชื้นต่ำที่ต่ำสุด เท่ากับ 0.63 ในขณะที่การเคลือบน้ำยางคอมพาวด์ 55 กรัม/ด้านมีค่าเฉลี่ยร้อยละความแตกต่างของการบ่มความชื้นและการทดสอบการซึมน้ำที่ต่ำสุด เท่ากับ 10.219 และ 1.597 ตามลำดับ 2) การยอมรับของผู้บริโภค พบว่า ในภาพรวมผู้บริโภคมีการยอมรับในระดับมาก โดยมีการยอมรับอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ความสามารถในการกันน้ำ การนำไปใช้ในงานหัตถกรรมประเภทต่างๆ และความพึงพอใจโดยรวมต่อกระดาษกันน้ำ 3) สำหรับการยอมรับของผู้ผลิตต่อการใช้น้ำยางคอมพาวด์ในการเคลือบผิวกระดาษเส้นใยสับปะรดเพื่อใช้ในงานหัตถกรรม พบว่า มีการยอมรับในระดับมากที่สุด ได้แก่ การผลิตกระดาษกันน้ำจากเส้นใยสับปะรดเคลือบผิวด้วยน้ำยางคอมพาวด์ การทำสี ลวดลาย และเพิ่มกลิ่นหอมจะทำให้กระดาษกันน้ำมีความน่าสนใจ และการผลิตกระดาษกันน้ำด้วยวิธีการเคลือบผิวกระดาษเส้นใยสับปะรดด้วยน้ำยางคอมพาวด์มีประโยชน์ นอกจากนี้การยอมรับของผู้ผลิตต่อคุณภาพของกระดาษเคลือบน้ำยางคอมพาวด์ พบว่า มีการยอมรับในระดับมากที่สุด ได้แก่ การนำกระดาษกันน้ำไปใช้ในงานหัตถกรรมประเภทต่างๆ ความสามารถในการกันน้ำของกระดาษกันน้ำหลังเคลือบผิวกระดาษเส้นใยสับปะรดด้วยน้ำยางคอมพาวด์ และความหนา/ความบางของกระดาษกันน้ำหลังเคลือบผิวกระดาษเส้นใยสับปะรดด้วยน้ำยางคอมพาวด์
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการทรัพยากรเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13544
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2649000193.pdf1.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.