กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13546
ชื่อเรื่อง: | ผลของการนำเทคโนโลยีการผลิตท่อนพันธุ์มันสำปะหลังสะอาดมาประยุกต์ใช้ของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Effects of applying technology for producing clean cassava cultivars of cassava production by farmers in Doem Bang Nang Buat District, Suphanburi Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ธำรงเจต พัฒมุข ศิริลักษณ์ ชูพุทธพงศ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ศิริพร ดอนเหนือ วนาลัย วิริยะสุธี |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการจัดการทรัพยากรเกษตร--วิทยานิพนธ์ มันสำปะหลัง--ไทย--สุพรรณบุรี--การผลิต |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงผสม (Mixed methods research) ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัญหาและความต้องการในการผลิตท่อนพันธุ์มันลำปะหลังสะอาดของเกษตรกร 2) ความรู้ของเกษตรกรในการผลิตท่อนพันธุ์ มันสำปะหลังสะอาด 3) ผลของเทคโนโลยีการผลิตท่อนพันธุ์มันสำปะหลังสะอาดต่อต้นทุนผลตอบแทน และผลผลิตในการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกร 4) ผลของเทคโนโลยีการผลิตท่อนพันธุ์มันลำปะหลังสะอาดต่ออัตราการเกิดโรคและ ความรุนแรงของโรคใบต่างมันสำปะหลังในแปลงของเกษตรกรประชากร คือ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลัง ปี 2566 จังหวัด สุพรรณบุรี จำนวน 60 ราย โดยศึกษาจากประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ประกอบด้วย 1) การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรตระหนักถึงความสำคัญของการผลิตท่อนพันธุ์มันสำปะหลังสะอาดของชุมชนเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด (p = 3.88+0.76) และมีความต้องการสื่อบุคคล (u = 3.97+0.82) และสื่อสิ่งพิมพ์ (p = 3.57+0.85) ในการส่งเสริมการผลิตท่อนพันธุ์มันลำปะหลังสะอาด โดยใช้กิจกรรม คือ การสาธิต (น = 3.68+0.83) และประชุมอบรมเชิงปฏิบัติการ (p = 3.67+0.88) 2) เมื่อเปรียบเทียบผลการทดสอบความรู้ของเกษตรกรด้านการผลิตท่อนพันธุ์มันสำปะหลังสะอาด พบว่า เกษตรกรมีความรู้หลังเข้ารับการอบรมถ่ายทอดความรู้สูงกว่าก่อนเข้ารับการอบรมถ่ายทอดความรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) 3) ด้านต้นทุน ผลตอบแทน และผลผลิต ปีการผลิต 2565 เกษตรกรมีต้นทุนการผลิตมันสำปะหลัง 6,477.30 บาทต่อไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 3,213.87 กิโลกรัมต่อไร่ รายได้เฉลี่ยต่อไร่ เท่ากับ 9,230.23 บาท และกำไรสุทธิ 2,782.93 บาทต่อไร่ หลังจากการนำการนำเทคโนโลยีการผลิตท่อนพันธุ์มันลำปะหลังสะอาดไปประยุกต์ใช้ ส่งผลให้ปีการผลิต 2566 เกษตรกรมีต้นทุนการผลิต 5,864.96 บาทต่อไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 4,118.50 กิโลกรัมต่อไร่ รายได้เฉลี่ยต่อไร่ เท่ากับ 11,554.91 บาท และกำไรสุทธิ 5,689.95 บาทต่อไร่ 4) อัตราการเกิดโรคก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต (เดือนที่ 9) ของแปลงที่ 1 แปลงที่ 2 และแปลงที่ 3 พบอัตราการเกิดโรค ร้อยละ 28.00 1.81 และ 2.34 ตามลำดับ และแปลงที่ 1 ซึ่งไม่ได้นำเทคโนโลยีการรผลิตท่อนพันธุ์มันสำปะหลังสะอาดไปประยุกต์ใช้มีอัตราการเกิดโรคมากกว่า ร้อยละ 5.00 ซึ่งไม่สามารถนำท่อนพันธุ์ไปใช้เพาะปลูกในฤดูกาลถัดไปได้ แนวทางในการพัฒนากระบวนการผลิตท่อนพันธุ์มันสำปะหลังสะอาดของเกษตรกร คือ มุ่งเน้นการใช้ท่อนพันธุ์คุณภาพดี การลดต้นทุนการผลิต มุ่งเน้นการ จัดการศัตรูพืชในแปลง มันลำปะหลัง พัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ พัฒนาศักยภาพของเกษตรกร และมุ่งเน้นการเพิ่มพื้นที่การผลิตท่อนพันธุ์ มันสำปะหลังสะอาด เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพการผลิตท่อนพันธุ์มันสำปะหลังสะอาดต่อไป |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการทรัพยากรเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13546 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2649000375.pdf | 6.56 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น