Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13547
Title: แนวทางการจัดการดินที่เหมาะสมเพื่อเกษตรกรรมของเกษตรกรในตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี
Other Titles: Appropriate soil management for farmers in Huai Khamin Subdistrict, Dan Chang District, Suphanburi Province
Authors: สัจจา บรรจงศิริ
ภูวไนย กิตติสุวรรณกุล
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการจัดการทรัพยากรเกษตร--การศึกษาเฉพาะกรณี
การจัดการดิน--ไทย--สุพรรณบุรี
การศึกษาอิสระ--การจัดการทรัพยากรเกษตร
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการใช้ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมของเกษตรกรในพื้นที่ตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี 2) สภาพปัญหาที่เกิดจากการใช้ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมของเกษตรกรในพื้นที่ตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี และ 3) แนวทางการจัดการดินเพื่อเกษตรกรรมที่เหมาะสมของเกษตรกรในตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรคือ 1) เกษตรกรตำบลห้วยขมิ้นที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร พ.ศ. 2565 จำนวน 1,439 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่าง 313 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่ายตามสัดส่วนแต่ละหมู่บ้าน และ  2) เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เลือกแบบเจาะจง จำนวน 20 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพพื้นที่เกษตรกรรมส่วนใหญ่เป็นลอนและเป็นคลื่นเล็กน้อย ลักษณะเนื้อดินเป็นดินทราย เกษตรกรร้อยละ 63.10 มีการปลูกมันสำปะหลัง รองลงมาคือ ปลูกอ้อยร้อยละ 31.74 ปลูกข้าวร้อยละ 3.18 และปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ร้อยละ 1.99 2) สภาพปัญหาที่เกิดจากการใช้ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (1) ด้านกายภาพ พบปัญหาในระดับมาก ได้แก่ โครงสร้างดินไม่เหมาะสม ดินตื้น ดินทรายจัด มีการเผาเศษซากพืชก่อนเตรียมดิน เมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสดไม่เพียงพอ และไม่มีการปรับปรุงดินก่อนปลูกพืช (2) ด้านเคมี พบปัญหาในระดับมากที่สุดคือ การใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชมากเกินไป (3) ด้านชีวภาพพบปัญหาในระดับมากและมากที่สุด ได้แก่ สิ่งมีชีวิตในดินและระบบนิเวศในแปลงลดลง 3) แนวทางการจัดการดินที่เหมาะสม ได้แก่ (1) ด้านกายภาพ ได้แก่ การให้ความรู้และส่งเสริมด้านการลดการชะล้างพังทลายของดินด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ และการปรับปรุงโครงสร้างดิน (2) ด้านเคมี ได้แก่ การจัดการด้านความอุดมสมบูรณ์ดิน มีการวิเคราะห์ดินก่อนใช้ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยเคมีผสมผสานกับปุ๋ยอินทรีย์เพื่อปรับสภาพดิน ปรับปรุงดินกรดด้วยโดโลไมท์ (3) ด้านชีวภาพ ได้แก่ การใช้จุลินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพในการปรับปรุงบำรุงดิน และกำจัดศัตรูพืชด้วยชีววิธี (4) ด้านการรวมกลุ่มและเครือข่ายเพื่อทำเกษตรอินทรีย์ ใช้สารอินทรีย์ลดการใช้สารเคมี จัดตั้งธนาคารปุ๋ยอินทรีย์ เรียนรู้การทำการเกษตรอินทรีย์ การรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรปลอดภัย และการทำการเกษตรผสมผสานตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13547
Appears in Collections:Agri-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2649000383.pdf1.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.