กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13549
ชื่อเรื่อง: แนวทางการส่งเสริมการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานในการผลิตส้มโอของเกษตรกร อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension guideline of integrated pest management in pomelo production of farmers in Bang Khonthi District, Samut Songkhram Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บำเพ็ญ เขียวหวาน
ธนกฤต ชุติพงศ์ศาศวัต
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
ศัตรูพืช--การควบคุมแบบผสมผสาน
ส้มโอ--ไทย--สมุทรสงคราม--การผลิต
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สังคม เศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ปลูกส้มโออำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม 2) สภาพการผลิตส้มโอและการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานของเกษตรกรผู้ปลูกส้มโอ 3) ความรู้และแหล่งความรู้ด้านการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานของเกษตรกรผู้ปลูกส้มโอ 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานของเกษตรกรผู้ปลูกส้มโอ 5) ความต้องการและแนวทางการส่งเสริมการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานของเกษตรกรผู้ปลูกส้มโอการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรในการวิจัยนี้ คือ เกษตรกรผู้ผลิตส้มโอในอำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตร ในปี 2565/2566 จำนวน 846 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน ที่ค่าความคาดเคลื่อน 0.07 ได้ขนาดตัวอย่าง เท่ากับ 165 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 56.19 ปี มีประสบการณ์ในการปลูกส้มโอเฉลี่ย 15.70 ปี มีรายได้เฉลี่ยจากการผลิตส้มโอในรอบปีที่ผ่านมาเท่ากับ 48,839.39 บาท 2) เกษตรกรมีพื้นที่ปลูกส้มโอเฉลี่ย 3.89 ไร่ มีปริมาณผลผลิตส้มโอเฉลี่ยต่อไร่ 1,792.73 กิโลกรัมต่อไร่ มีการปฏิบัติตามการจัดการศัตรูแบบผสมผสานระดับปานกลาง โดยปฏิบัติวิธีเขตกรรมมากที่สุด 3) เกษตรกรส่วนใหญ่มีความรู้และได้รับความรู้เกี่ยวกับการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานระดับปานกลาง โดยได้รับความรู้ระดับมากในประเด็นชีววิธี จากแหล่งความรู้กลุ่ม คือการประชุม และการฝึกอบรม 4) เกษตรกรมีปัญหาด้านวิธีการส่งเสริมในระดับน้อย และมีปัญหาระดับปานกลางในด้านความรู้ และด้านวิธีการปฏิบัติ เกษตรกรเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะเรื่องความรู้ที่ถ่ายทอดให้แก่เกษตรกรควรมีความน่าเชื่อถือ และนำไปปฏิบัติได้จริง 5) เกษตรกรมีความต้องการการส่งเสริมในด้านวิธีการส่งเสริมแบบกลุ่ม และแบบบุคคล โดยต้องการความรู้ในประเด็นชีววิธี และสารธรรมชาติจากพืชและสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช เกษตรกรให้ความสำคัญกับแนวทางการส่งเสริมด้านเนื้อหาความรู้ ในเรื่องส่งเสริมการปลูกและดูแลรักษาพืชให้แข็งแรง ส่งเสริมความรู้ด้านการจำแนกโรคและแมลง และส่งเสริมการเลือกใช้วิธีการจัดการศัตรูพืชที่เสริมประสิทธิภาพ หรือลดข้อด้อยของวิธีอื่น ๆ และให้ความสำคัญด้านวิธีการส่งเสริมโดยการเยี่ยมเยียนของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13549
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2649000540.pdf1.76 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น