กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13551
ชื่อเรื่อง: การส่งเสริมการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในอำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension of integrated pest management of rice farmers in Mueang Phrae District, Phrae Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ
กษิรา คูหา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
จินดา ขลิบทอง
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
ข้าว--โรคและศัตรูพืช--การควบคุมแบบผสมผสาน
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลทั่วไปและสภาพการผลิตข้าวของเกษตรกร 2) ความรู้และการปฏิบัติตามการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานของเกษตรกร 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานของเกษตรกร 4) เปรียบเทียบการได้รับและความต้องการการส่งเสริมการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานของเกษตรกร และ 5) แนวทางการส่งเสริมการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานที่เหมาะสมของเกษตรกรการวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบสำรวจ ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวในอำเภอเมืองแพร่ ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกบกรมส่งเสริมการเกษตร ปี การเพาะปลูก 2565/66 จำนวน 7,520 ราย กาหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรของ Yamane ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน จำนวน 380 ราย รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดอันดับ การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ปัจจัย และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 54.18 ปี มีประสบการณ์ในการปลูกข้าวเฉลี่ย 24.62 ปี มีพื้นที่ในการผลิตข้าวเฉลี่ย 11.37 ไร่ สภาพการผลิตข้าวเกษตรกรมีต้นทุนในการผลิตข้าวเฉลี่ย 4,193.82 บาทต่อไร่ ผลผลิตข้าวเฉลี่ย 599.43 กิโลกรัมต่อไร่ 2) ความรู้ในการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานของเกษตรกร โดยวิธีเขตกรรม วิธีกล ชีววิธี วิธีฟิสิกส์ วิธีสารธรรมชาติ และ การใช้สารเคมี ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาในแต่ละประเด็นพบว่าเกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจในการควบคุมศัตรูพืชโดยใช้สารธรรมชาติระดับมากที่สุด และมีการปฏิบัติในการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานโดยรวมในระดับปานกลาง โดยมีการปฏิบัติตามวิธีเขตกรรมในระดับมากที่สุด 3) เกษตรกรมีปัญหาในการจัดการศัตรูพืชในภาพรวมระดับปานกลาง โดยการจัดการศัตรูพืชด้วยวิธีฟิสิกส์ มีปัญหาระดับมาก และมีเสนอแนะให้มีการอบรมความรู้เรื่องการคัดเลือกพันธุ์ข้าวให้เหมาะกับพื้นที่ 4) เมื่อเปรียบเทียบการได้รับและความต้องการการส่งเสริมการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานในการผลิตข้าว โดยใช้สถิติการทดสอบค่าที (t-test) พบว่า ในภาพรวมของกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรมีการได้รับความรู้ในการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานในการผลิตข้าวของเกษตรกรอยู่ในระดับปานกลาง และความต้องการความรู้ในการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานในการผลิตข้าวของเกษตรกรอยู่ในระดับมาก ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติที่ 0.01 ทุกประเด็น และ 5) แนวทางการส่งเสริมการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานจากการวิเคราะห์ปัจจัย พบตัวแปรที่นำมาส่งเสริมแก่เกษตรกร 4 ประเด็น คือ (1) วิธีกลร่วมกับชีววิธี (2) การใช้สารเคมีที่ถูกต้องและปลอดภัย (3) วิธีเขตกรรมที่เหมาะสม และ (4) วิธีการใช้สารธรรมชาติให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13551
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2649000813.pdf1.5 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น