กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13552
ชื่อเรื่อง: การส่งเสริมการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินของเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันในอำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension needs of fertilizer application based on soil testing in palm oil production of farmers in Bo Thong District, Chonburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ
ธิติมา คุ้มโต
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
จินดา ขลิบทอง
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
ปาล์มน้ำมัน--ปุ๋ย
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและสภาพการผลิตปาล์มน้ำมันของเกษตรกร (2) เพื่อศึกษาการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินของเกษตรกร (3) เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะในการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินของเกษตร (4) เพื่อเปรียบเทียบการได้รับและความต้องการการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินของเกษตรกร (5) เพื่อวิเคราะห์แนวทางการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินของเกษตรกรประชากรในการวิจัย คือ เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน อำเภอบ่อทอง จำนวน 546 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยสูตรของ Taro Yamane (1973)ความคลาดเคลื่อนร้อยละ 5 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 231 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้วิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 48.50 ปี ระดับการศึกษา ปวส./อนุปริญญา มีประสบการณ์ในการผลิตปาล์มน้ำมันเฉลี่ย 9.63 ปี พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันเฉลี่ย 34.6 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 2,704.85 กิโลกรัม แหล่งเงินทุนใช้เงินทุนของตนเอง ได้รับข้อมูลข่าวสารจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรของรัฐ การรับรู้และปฏิบัติอยู่ในระดับรับรู้แต่ขอพิจารณากลั่นกรองข้อมูลมั่นใจก่อน (2) เกษตรกรส่วนใหญ่มีความรู้เรื่องการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินจากคะแนนทดสอบอยู่ในระดับมาก และรับรู้ถึงความสำคัญของการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน (3) เกษตรกรยังขาดความรู้การแปรผลค่าวิเคราะห์ดินการตรวจวิเคราะห์ดินเบื้องต้น และการส่งดินตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการที่รอผลนาน (4) เกษตรกรได้รับความรู้จากนักวิชาการกรมส่งเสริม และต้องการความรู้ด้านการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินมากที่สุด ผ่านช่องทางสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และต้องการ การอบรม ดูงาน ฝึกปฏิบัติ มากที่สุด (5) นักส่งเสริมควรร่วมมือกับ เกษตรต้นแบบ มาถ่ายทอดประสบการณ์แลกเปลี่ยน การได้รับความรู้ผ่านประสบการณ์ตรงจากผู้ที่ประสบความสำเร็จ โดยเสริมความรู้ด้วยการใช้สื่อต่างๆ ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเลกทรอนิกส์ การลงมือฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดความชำนาญในการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13552
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2649000821.pdf1.17 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น