กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13554
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในพื้นที่อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting agricultural waste management of farmers in Pho Thong District, Ang Thong Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บำเพ็ญ เขียวหวาน
ณัฐวุฒิ การุณวงษ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
ข้าว--วัสดุเหลือใช้
การใช้ของเสียให้เป็นประโยชน์
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) ความรู้เกี่ยวกับการจัดการ เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรของเกษตรกร 3) การจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรของเกษตรกร 4) ความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร 5) ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรของเกษตรกร 6) ปัญหาและข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรของเกษตรกรการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวในพื้นที่อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง  ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกร จนถึงปี 2566 จำนวน 3,659 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน ที่ระดับ ความคลาดเคลื่อน 0.08 ได้จำนวน 151 ราย และสุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยการจับสลาก เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา  ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกร ร้อยละ 52.98 เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 56.13 ปี เป็นสมาชิกกลุ่ม/องค์กรเกษตรกร ร้อยละ 41.70 มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.65 คน จำนวนปีที่ประกอบอาชีพเฉลี่ย 20.32 ปี ถือครองพื้นที่ทางการเกษตร เฉลี่ย 23.26 ไร่  มีรายได้เฉลี่ย 102,823.18 บาทต่อปี มีหนี้สินเฉลี่ย 104,447.68 บาทต่อปี 2) เกษตรกรร้อยละ 64.9 มีความรู้เกี่ยวกับการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรของเกษตรกร อยู่ในระดับมาก โดยเกษตรกรส่วนมากมีความรู้ในประเด็นการไถกลบเศษวัสดุเหลือใช้ ทางการเกษตร เป็นการเพิ่มธาตุอาหารพืชและความอุดมสมบูรณ์ของดิน 3) เกษตรกรมีการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร อยู่ในระดับน้อยที่สุด โดยส่วนใหญ่มีการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในประเด็นทำวัสดุเพาะปลูก คลุมหน้าดินในแปลงหรือ โคนต้นไม้ รองลงมามีการจัดการในประเด็นผลิตฟางอัดก้อน 4) เกษตรกรเห็นด้วยกับการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในระดับมาก โดยส่วนใหญ่เห็นด้วยในประเด็นรัฐควรจัดอบรมให้ความรู้และฝึกทักษะการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรอย่างถูกวิธี อย่างจริงจังและต่อเนื่อง และเห็นด้วยในระดับปานกลาง ในประเด็นการเผาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นวิธีที่ดีและรวดเร็วเพื่อเตรียมการเพาะปลูกในรอบใหม่ 5) จากการศึกษา ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว พบว่าปัจจัยด้าน อายุ ระดับการศึกษา การเป็นสมาชิกกลุ่ม/องค์กรเกษตร จำนวนสมาชิกในครัวเรือน จำนวนปีที่ประกอบอาชีพ พื้นที่ถือครอง ด้านการเกษตร ความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ความรู้เกี่ยวกับการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ ทางการเกษตร และปัญหาเกี่ยวกับการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ไม่มีผลกับการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในทางสถิติ 6 ) เกษตรกรมีปัญหาเกี่ยวกับการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในระดับมาก โดยมีปัญหามากที่สุดในประเด็นเกษตรกรมีพฤติกรรมการเผาฟางก่อนการไถนามาเป็นระยะเวลายาวนาน  และมีข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ของเกษตรกร ได้แก่ ควรมีแหล่งรับซื้อเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรอยู่ในพื้นที่ รองลงมาคือ สร้างจิตสานึกในการรับผิดชอบต่อสังคม
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13554
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2649000995.pdf1.09 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น