Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13555
Title: | Media Utilization for Agricultural Extension and Development of Agricultural Extensionist, Department of Agricultural Extension in Eastern Region การใช้สื่อในการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรสังกัดกรมส่งเสริมการเกษตรในภาคตะวันออก |
Authors: | PINJARAS THAICHAROEN ปิ่นจรัส ไทยเจริญ Chalermsak Toomhirun เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ Sukhothai Thammathirat Open University Chalermsak Toomhirun เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ [email protected] [email protected] |
Keywords: | สื่อส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร การส่งเสริมการเกษตร นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร Agricultural extension and development media Agricultural Extension Agricultural extensionist |
Issue Date: | 15 |
Publisher: | Sukhothai Thammathirat Open University |
Abstract: | The objectives of this research were to study 1) personal factors and operation 2) the media utilization in the agricultural extension and development 3) the receiving and needs for the development of media utilization in the agricultural extension and development 4) problems and suggestions regarding the media utilization in the agricultural extension and development and 5) the analysis and synthesis of the development guidelines in media utilization in the agricultural extension and development of the agricultural extensionists under the department of agricultural extension in eastern region. This research was survey research. The population was 495 agricultural extensionists under the department of agricultural extension in eastern region. The sample size of 221 people was determined by using Taro Yamane formula with the error value of 0.05 through simple random sampling method. Data were collected by using electronic questionnaires and were analyzed by using frequency distribution, percentage, minimum value, maximum value, mean, standard deviation, ranking, and content analysis. The results of the research revealed that 1) the agricultural extensionists were mostly female with the average age of 38.82 years old, had the working period of 5-10 years in the practitioner level under district office of agricultural, and responsible for the work of extension and development of farmers through home/farm visits in the area. 2) Most of them used personal media that was agricultural extension officer via training and information distribution for agricultural goods quality development. 3) The officers received knowledge regarding media production for agricultural extension work utilization by receiving the training from online system. They received personal media in the form of agricultural extension officers and received the information for agricultural goods quality development on suggestions in the operation of agricultural activities through meetings.They needed knowledge about information and news for agricultural extension work through face-to-face training. Also, they needed personal media, agricultural volunteer, information for agricultural goods quality development, and agricultural knowledge and technology through Facebook online media. 4) Most of them faced with the problems regarding management, lack of follow-up, evaluation, and media suggestion that should be appropriate and meet with the needs of farmers, the utilization of online social media, and the adaption into the modern era and technology. 5) The development guidelines for media utilization must develop the knowledge about the writing of news and information regarding the agricultural extension work by participating in the training and developing personal media along with infographic, video, training, information development to be able to use in both personal media channel and online media channel. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคลและการปฏิบัติงาน 2) การใช้สื่อในการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร 3) การได้รับและความต้องการพัฒนาการใช้สื่อในการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร 4) ปัญหา และข้อเสนอแนะการใช้สื่อในการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร และ 5) วิเคราะห์และสังเคราะห์แนวทางพัฒนาการใช้สื่อในการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร ของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร สังกัดกรมส่งเสริมการเกษตรในภาคตะวันออก การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบสำรวจ ประชากร คือ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรสังกัดกรมส่งเสริมการเกษตรในภาคตะวันออก จำนวน 495 ราย กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน ที่ความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 221 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยใช้แบบสอบถามอิเล็กทรอนิกส์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดลำดับ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 38.82 ปี ระยะเวลาปฏิบัติงาน 5 - 10 ปี ระดับปฏิบัติการ สังกัดสำนักงานเกษตรอำเภอ รับผิดชอบกลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรใช้วิธีการเยี่ยมเยือนที่บ้านหรือไร่นาในพื้นที่ 2) ส่วนใหญ่ใช้สื่อบุคคล คือ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร โดยผ่านการอบรม เผยแพร่สารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร 3) ได้รับความรู้การผลิตสื่อเพื่อใช้ในงานส่งเสริมการเกษตร โดยอบรมผ่านระบบออนไลน์ ได้รับสื่อบุคคล รูปแบบเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร และได้รับสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร เกี่ยวกับคำแนะนำในการดำเนินกิจกรรมการเกษตร โดยผ่านการประชุม และมีความต้องการความรู้เกี่ยวกับการเขียนข้อมูลข่าวสารเพื่องานส่งเสริมการเกษตร ด้วยวิธีการอบรมแบบพบปะ ต้องการสื่อบุคคล อาสาสมัครเกษตร และต้องการสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร องค์ความรู้และเทคโนโลยีการเกษตร ผ่านสื่อออนไลน์ เฟซบุ๊ก 4) ส่วนใหญ่มีปัญหาด้านการจัดการ ขาดการติดตาม ประเมินผล และข้อเสนอแนะสื่อควรเหมาะสม ตรงความต้องการของเกษตรกร ใช้สื่อสังคมออนไลน์ ปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย และเทคโนโลยี และ 5) แนวทางการพัฒนาการใช้สื่อ ต้องมีการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับการเขียนข้อมูลข่าวสารงานส่งเสริมการเกษตร โดยใช้วิธีการอบรมแบบพบปะ พัฒนาสื่อบุคคล ร่วมกับสื่อรูปแบบอินโฟกราฟิก วิดีทัศน์ ศึกษาดูงาน พัฒนาสารสนเทศให้สามารถใช้ได้ทั้งช่องทางสื่อบุคคล และสื่อออนไลน์ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13555 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2649001142.pdf | 3.94 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.