กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13555
ชื่อเรื่อง: | การใช้สื่อในการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรสังกัดกรมส่งเสริมการเกษตรในภาคตะวันออก |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Media utilization for agricultural extension and development of agricultural extensionist, Department of Agricultural Extension in Eastern Region |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ ปิ่นจรัส ไทยเจริญ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา จินดา ขลิบทอง |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์ การส่งเสริมการเกษตร--ไทย (ภาคตะวันออก) สื่อมวลชนในการส่งเสริมการเกษตร |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคลและการปฏิบัติงาน 2) การใช้สื่อในการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร 3) การได้รับและความต้องการพัฒนาการใช้สื่อในการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร 4) ปัญหา และข้อเสนอแนะการใช้สื่อในการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร และ 5) วิเคราะห์และสังเคราะห์แนวทางพัฒนาการใช้สื่อในการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร ของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร สังกัดกรมส่งเสริมการเกษตรในภาคตะวันออก การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบสำรวจ ประชากร คือ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรสังกัดกรมส่งเสริมการเกษตรในภาคตะวันออก จำนวน 495 ราย กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน ที่ความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 221 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยใช้แบบสอบถามอิเล็กทรอนิกส์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดลำดับ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 38.82 ปี ระยะเวลาปฏิบัติงาน 5 - 10 ปี ระดับปฏิบัติการ สังกัดสำนักงานเกษตรอำเภอ รับผิดชอบกลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรใช้วิธีการเยี่ยมเยือนที่บ้านหรือไร่นาในพื้นที่ 2) ส่วนใหญ่ใช้สื่อบุคคล คือ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร โดยผ่านการอบรม เผยแพร่สารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร 3) ได้รับความรู้การผลิตสื่อเพื่อใช้ในงานส่งเสริมการเกษตร โดยอบรมผ่านระบบออนไลน์ ได้รับสื่อบุคคล รูปแบบเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร และได้รับสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร เกี่ยวกับคำแนะนำในการดำเนินกิจกรรมการเกษตร โดยผ่านการประชุม และมีความต้องการความรู้เกี่ยวกับการเขียนข้อมูลข่าวสารเพื่องานส่งเสริมการเกษตร ด้วยวิธีการอบรมแบบพบปะ ต้องการสื่อบุคคล อาสาสมัครเกษตร และต้องการสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร องค์ความรู้และเทคโนโลยีการเกษตร ผ่านสื่อออนไลน์ เฟซบุ๊ก 4) ส่วนใหญ่มีปัญหาด้านการจัดการ ขาดการติดตาม ประเมินผล และข้อเสนอแนะสื่อควรเหมาะสม ตรงความต้องการของเกษตรกร ใช้สื่อสังคมออนไลน์ ปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย และเทคโนโลยี และ 5) แนวทางการพัฒนาการใช้สื่อ ต้องมีการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับการเขียนข้อมูลข่าวสารงานส่งเสริมการเกษตร โดยใช้วิธีการอบรมแบบพบปะ พัฒนาสื่อบุคคล ร่วมกับสื่อรูปแบบอินโฟกราฟิก วิดีทัศน์ ศึกษาดูงาน พัฒนาสารสนเทศให้สามารถใช้ได้ทั้งช่องทางสื่อบุคคล และสื่อออนไลน์ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13555 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2649001142.pdf | 3.94 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น