กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13557
ชื่อเรื่อง: แนวทางการส่งเสริมการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรสูงวัยในอำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension guidelines for operation of elderly farmers housewives group in Phan Thong District, Chon Buri Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ
พันธิดา สุดสงวน
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
บำเพ็ญ เขียวหวาน
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
เกษตรกรสูงอายุ--ไทย--ชลบุรี
Elderly farmers housewives group
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สังคม และเศรษฐกิจของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรสูงวัย 2) ความคิดเห็นของสมาชิกต่อการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรสูงวัย 3) ความรู้และแหล่งความรู้ในการดำเนินงานของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรสูงวัย 4) ความต้องการในการส่งเสริมของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรสูงวัย และ 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะแนวทางในการส่งเสริมการดำเนินงานของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรสูงวัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ศึกษา คือ สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป จำนวน 263 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรทาโร ยามาเน ที่ความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 159 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่าย ใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์โดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สมาชิกส่วนใหญ่ มีอายุเฉลี่ย 67.32 ปี เป็นครอบครัวขยาย มีสมาชิกในครัวเรือน เฉลี่ย 4.53 คน จบการศึกษาระดับประถมศึกษา นอกจากเป็นสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ส่วนมากยังเป็นสมาชิกวิสาหกิจชุมชน สาเหตุที่เข้ามาเป็นสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเพราะต้องการมีรายได้เพิ่ม มีรายได้หลักจากอาชีพเกษตรกร เฉลี่ย 7,283.02 บาทต่อเดือ มีการออมเงินด้วยวิธีฝากธนาคาร สมาชิกเกินครึ่งมีภาระหนี้สิน มีโรคประจำตัวเป็นโรคความดันโลหิตสูง มากที่สุด ระยะเวลาเฉลี่ยการเป็นสมาชิก 23.66 ปี  และสถานภาพในกลุ่มเป็นสมาชิก 2) สมาชิกเห็นด้วยกับการดำเนินงานของกลุ่มในระดับมาก ในประเด็นด้านสาธารณประโยชน์/การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และด้านกระบวนการพัฒนาสินค้าและบริการ และเห็นด้วยกับการดำเนินงานของกลุ่มในระดับปานกลาง ในประเด็น ด้านการพัฒนาความรู้และความสามารถของสมาชิก ด้านการบริหารจัดการ และด้านการบริหารทุน  และทรัพยากร 3 ) สมาชิกได้รับความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานของกลุ่ม จากสื่อออนไลน์มากที่สุด รองลงมา คือ สื่อกลุ่ม 4) สมาชิก     มีความต้องการในการส่งเสริมด้านการดำเนินงานของกลุ่มด้านการบริหารจัดการทุนและทรัพยากรในระดับมาก และมีความต้องการ  ในการส่งเสริมด้านวิธีการส่งเสริมแบบสื่อกระจายภาพและเสียง ในระดับปานกลาง 5) สมาชิกมีปัญหาในประเด็นการส่งเสริมด้านการดำเนินงานของกลุ่มด้านการบริหารทุนและทรัพยากรในระดับมาก และมีปัญหาในประเด็นการส่งเสริมด้านวิธีการส่งเสริมของกลุ่มแบบสื่อกระจายภาพและเสียงในระดับมาก สมาชิกเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะแนวทางในการส่งเสริมด้านการดำเนินงานด้านการบริหารทุนและทรัพยากรในระดับมาก โดยเสนอแนะให้มีเงินออมของกลุ่ม และข้อเสนอแนะด้านวิธีการส่งเสริมแบบสื่อออนไลน์ในระดับมาก โดยเสนอแนะให้ความรู้และข่าวสารด้านการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรสูงวัยผ่านสื่อออนไลน์ต่าง ๆ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13557
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2649001217.pdf1.39 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น