Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13558
Title: Extension and Development Guidelines of The Operation of Agricultural Learning Centers in Nan Province
แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการดำเนินงานศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร จังหวัดน่าน
Authors: จินดา ขลิบทอง
ดาวประกาย เมืองไชย
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
Development
Agricultural Learning Center (ALC)
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมของคณะกรรมการศูนย์ฯ 2) ความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการดำเนินงานของศูนย์ฯ 3) ปัญหาในการดำเนินงานของศูนย์ฯ 4) ความต้องการ และแนวทางการพัฒนาการดำเนินการของศูนย์ฯ ประชากรที่ใช้ศึกษา คือ คณะกรรมการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร จังหวัดน่าน ทั้ง 15 อำเภอ จำนวน 286 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 167 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยการจับสลาก  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการวิจัยพบว่า 1) คณะกรรมการ ศพก. ร้อยละ 85.6 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 54.20 ปี ร้อยละ 68.3 จบมัธยมศึกษาตอนปลาย ร้อยละ 44.9 เป็นเกษตรกรผู้นำ เข้าร่วมจากการแนะนำของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ต้องการองค์ความรู้ใหม่ๆด้านการเกษตรเพิ่มเติม ไม่มีตำแหน่งทางสังคม รับรู้ข่าวสารผ่านทางนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ถือครองที่ดินเฉลี่ย 2.2 ไร่ ทำการเกษตรแบบผสมผสาน ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในการรับสื่อทุกคน  2) คณะกรรมการ ศพก. มีความเห็นว่าการดำเนินงานของ ศพก. อยู่ในระดับมาก ในประเด็นการพัฒนาศักยภาพ ศพก. ด้านฐานเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักสูตรเรียนรู้ ประเด็นการบริหารจัดการเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงาน ด้านการประสานงานและเชื่อมโยงกับศพก.เครือข่ายอื่นๆ ประเด็นการสนับสนุนการให้บริการของศพก. ด้านการถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้ที่สนใจ ประเด็นการพัฒนาเกษตรกร ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับเกษตรกรผู้นำ และการศึกษาดูงาน ประเด็นการติดตามและรายงานผลการดำเนินงาน ด้านสรุปผลการดำเนินงานและรายงานการพัฒนา ศพก. 3) ปัญหาการดำเนินงาน อยู่ในระดับมาก ในประเด็นการบริหารจัดการเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงาน ได้แก่ ด้านการประชุมเชื่อมโยงระหว่างศพก.และแปลงใหญ่ 4) ต้องการการส่งเสริมในประเด็นการพัฒนาเกษตรกรสู่ผู้ประกอบการ สื่อที่ต้องการมากที่สุดคือ สื่อบุคคล ได้แก่ เจ้าหน้าที่เอกชน และเจ้าหน้าที่รัฐ สื่อสิ่งพิมพ์จากโปสเตอร์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อสังคมจากวิทยุ และต้องการวิธีการส่งเสริม โดยการศึกษาดูงาน แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการดำเนินงานศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร คือการส่งเสริมผ่านเจ้าหน้าที่รัฐร่วมบูรณาการการทำงานกับเอกชนเพื่อให้ความรู้ในการพัฒนาเกษตรกรสู่ผู้ประกอบการ การศึกษาดูงาน จัดทำโปสเตอร์ และเผยแพร่ข่าวสารผ่านทางวิทยุ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13558
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2649001233.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.