กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13558
ชื่อเรื่อง: Extension and Development Guidelines of The Operation of Agricultural Learning Centers in Nan Province
แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการดำเนินงานศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร จังหวัดน่าน
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: DAOPRAKAI MUANGCHAI
ดาวประกาย เมืองไชย
jinda khlibtong
จินดา ขลิบทอง
Sukhothai Thammathirat Open University
jinda khlibtong
จินดา ขลิบทอง
[email protected]
[email protected]
คำสำคัญ: แนวทางการส่งเสริม  การพัฒนา  ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร  ศพก.
Extension guideline
Development
Agricultural Learning Center (ALC)
วันที่เผยแพร่:  2
สำนักพิมพ์: Sukhothai Thammathirat Open University
บทคัดย่อ: The objectives of this research were to study 1) basic economic and social conditions of the agricultural learning centers’ committees 2) opinions on the operation of the agricultural learning centers 3) problems in the operation of the centers 4) needs and development guidelines in the operation of the centers.The population of this study was 286 committees of the agricultural learning centers in all 15 districts of Nan province. The sample size of 167 people was determined by using Taro Yamane formula with the error value of 0.05 through simple random sampling method by using lotto picking. Data were collected by using interview form. Data analysis was done by applying statistics such as frequency, percentage, minimum value, maximum value, standard deviation, and ranking. The results of the research found that 1) 85.6 percent of the ALC committees were male with the average age of 54.20 years old, 68.3 percent completed high school education level, 44.9 percent were leader farmers who participated through the suggestion of agricultural extension officers and needed new and additional agricultural knowledge. They held no social position, received news via agricultural extension officers, owned the average land of 2.2 Rai,  worked on integrated farming, and all of them used mobile phone in media receiving. 2) The committees expressed their opinions in the operation of the ALC at the high level on knowledge base which aligned with knowledge curriculum the cooperation and connection of the ALC and other networks, knowledge transfer to interested individuals, knowledge process management the leader farmers and the field trips, and  the summary of the performances and report in the development of the ALC.  3) The problem in the operation at the high level was on the issue of management to drive the operation such as the meeting connecting between ALCs and the collective farming. 4) The need for the extension in the aspect of developing farmers to entrepreneur. The most needed media was person media such as private sector officers and government officers, publication media from poster, electronic media, and social media from radio. The needed the extension method such as field trip. The extension guidelines and development for the operation of the agricultural learning center included the extension through the government officers cooperated with private agencies as trainers for knowledge in developing farmers to entrepreneurs, field trip, poster creation, and information distribution through radio.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมของคณะกรรมการศูนย์ฯ 2) ความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการดำเนินงานของศูนย์ฯ 3) ปัญหาในการดำเนินงานของศูนย์ฯ 4) ความต้องการ และแนวทางการพัฒนาการดำเนินการของศูนย์ฯ                  ประชากรที่ใช้ศึกษา คือ คณะกรรมการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร  จังหวัดน่าน  ทั้ง 15 อำเภอ จำนวน 286 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 167 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยการจับสลาก  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ                  ผลการวิจัยพบว่า 1) คณะกรรมการ ศพก. ร้อยละ 85.6 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 54.20 ปี ร้อยละ 68.3 จบมัธยมศึกษาตอนปลาย ร้อยละ 44.9 เป็นเกษตรกรผู้นำ เข้าร่วมจากการแนะนำของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ต้องการองค์ความรู้ใหม่ๆด้านการเกษตรเพิ่มเติม ไม่มีตำแหน่งทางสังคม รับรู้ข่าวสารผ่านทางนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ถือครองที่ดินเฉลี่ย 2.2 ไร่ ทำการเกษตรแบบผสมผสาน ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในการรับสื่อทุกคน  2) คณะกรรมการ ศพก. มีความเห็นว่าการดำเนินงานของ ศพก. อยู่ในระดับมาก ในประเด็นการพัฒนาศักยภาพ ศพก. ด้านฐานเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักสูตรเรียนรู้ ประเด็นการบริหารจัดการเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงาน ด้านการประสานงานและเชื่อมโยงกับศพก.เครือข่ายอื่นๆ ประเด็นการสนับสนุนการให้บริการของศพก. ด้านการถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้ที่สนใจ ประเด็นการพัฒนาเกษตรกร ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับเกษตรกรผู้นำ และการศึกษาดูงาน ประเด็นการติดตามและรายงานผลการดำเนินงาน ด้านสรุปผลการดำเนินงานและรายงานการพัฒนา ศพก. 3) ปัญหาการดำเนินงาน อยู่ในระดับมาก ในประเด็นการบริหารจัดการเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงาน ได้แก่ ด้านการประชุมเชื่อมโยงระหว่างศพก.และแปลงใหญ่ 4) ต้องการการส่งเสริมในประเด็นการพัฒนาเกษตรกรสู่ผู้ประกอบการ สื่อที่ต้องการมากที่สุดคือ สื่อบุคคล ได้แก่ เจ้าหน้าที่เอกชน และเจ้าหน้าที่รัฐ สื่อสิ่งพิมพ์จากโปสเตอร์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อสังคมจากวิทยุ และต้องการวิธีการส่งเสริม โดยการศึกษาดูงาน แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการดำเนินงานศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร คือการส่งเสริมผ่านเจ้าหน้าที่รัฐร่วมบูรณาการการทำงานกับเอกชนเพื่อให้ความรู้ในการพัฒนาเกษตรกรสู่ผู้ประกอบการ การศึกษาดูงาน จัดทำโปสเตอร์ และเผยแพร่ข่าวสารผ่านทางวิทยุ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13558
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2649001233.pdf1.19 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น