กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13561
ชื่อเรื่อง: แนวทางการส่งเสริมการผลิตและการจัดการศัตรูถั่วเหลืองของเกษตรกรในอำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension guidelines on soybean production and pest management of farmers in Na Noi District, Nan Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จินดา ขลิบทอง
บุณยวีร์ ชาวแพะ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
ถั่วเหลือง--ไทย--น่าน--การผลิต
ถั่วเหลือง--โรคและศัตรูพืช
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทางด้านสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) สภาพการผลิตและการจัดการศัตรูถั่วเหลืองของเกษตรกร 3) การผลิตถั่วเหลืองตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับถั่วเมล็ดแห้ง 4) ความต้องการและแนวทางส่งเสริมการผลิตและจัดการศัตรูถั่วเหลืองของเกษตรกร การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลืองในอำเภอนาน้อย จังหวัดน่านที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตรในปี 2565 จำนวน 573 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรทาโร ยามาเน ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 236 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบง่าย เก็บรวบรวมโดยใช้แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรร้อยละ 51.7 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 56.11 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ส่วนใหญ่เป็นลูกค้า ธ.ก.ส. จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 2.49 คน มีประสบการณ์ในการปลูกถั่วเหลืองเฉลี่ย 5.59 ปี ได้เข้าร่วมการอบรม 1 ครั้งต่อปี มีการถือครองที่ดินเฉลี่ย 3.38 ไร่ มีการเช่าที่ดินเฉลี่ย 0.44 ไร่ มีจำนวนแรงงานเฉลี่ย 2.25 คน แรงงานจ้างเฉลี่ย 1.33 คน ผลผลิตถั่วเหลืองเฉลี่ย 281.78 กิโลกรัมต่อไร่ รายได้จากการขายผลผลิตเฉลี่ย 2,554.26 บาทต่อปี และมีแหล่งเงินทุนของตนเอง 2) เกษตรกรปลูกถั่วเหลืองในพื้นที่นา ร้อยละ 80.9 ลักษณะดินร่วนปนดินเหนียว ร้อยละ 58.1 ไม่มีแหล่งน้ำ ร้อยละ 89.8 ทั้งหมดปลูกถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 60 มีการระบาดของโรคพืชและศัตรูพืชในระดับน้อย วัชพืชในระดับน้อยที่สุด เกษตรกรใช้วิธีเขตกรรมและการใช้สารเคมี 3) เกษตรกรปฏิบัติในระดับมากที่สุดทุกประเด็นตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับถั่วเมล็ดแห้ง 4) เกษตรกรต้องการความรู้ในระดับมาก โดยช่องทางการส่งเสริมที่ต้องการในระดับมาก ได้แก่ หน่วยงานรัฐ ผู้นำ/ปราชญ์ คู่มือ และเฟสบุ๊ก/ไลน์ ต้องการการส่งเสริมด้วยวิธีการการศึกษาดูงานมากที่สุดในประเด็นการใช้วิธีการหรือเครื่องมือวิทยาศาสตร์ในการควบคุมศัตรูพืช แนวทางการส่งเสริมตามปฏิทินการผลิต ได้แก่ การใช้เมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองที่ต้านทานต่อโรคและแมลง การดูแลรักษาที่เหมาะสม การใช้ชีววิธี และใช้สารเคมีอย่างถูกต้องและปลอดภัย
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13561
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2649001357.pdf1.18 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น