กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13564
ชื่อเรื่อง: แนวทางการส่งเสริมการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ในตำบลชำแระ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension guidelines for agricultural waste management of farmers in Chamrae Sub-district, Photharam District, Ratchaburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ
จิรวัฒน์ สืบโดด
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
บำเพ็ญ เขียวหวาน
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
ข้าว--วัสดุเหลือใช้--ไทย--ราชบุรี
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพส่วนบุคคล สภาพทางสังคมและสภาพทางเศรษฐกิจ 2) ความรู้ของเกษตรกรเกี่ยวกับการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร 3) ความคิดเห็นและการปฏิบัติเกี่ยวกับ การจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร 4) ปัญหาเกี่ยวกับการส่งเสริมการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร 5) แนวทางการส่งเสริมการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกร  กับกรมส่งเสริมการเกษตร ปี พ.ศ.2565/66 ตำบลชำแระ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี จำนวน 500 ราย กำหนดขนาดตัวอย่าง โดยใช้สูตร ทาโร ยามาเน ที่ค่าความคลาดเคลื่อน 0.07 ได้กลุ่มตัวอย่าง 145 ราย ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่ายด้วยการ จับสลาก เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกร ร้อยละ 79.3 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 56.79 ปี ร้อยละ 73.8 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 55.9 ได้รับข่าวสารความรู้การจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรจากผู้นำท้องถิ่น ต้นทุนการผลิตข้าวในปีการผลิต 2565/66 เฉลี่ย 4,028.38 บาท/ไร่ ปริมาณผลผลิตข้าวที่ได้รับ เฉลี่ย 860.56 กิโลกรัม/ไร่ 2) เกษตรกร มีความรู้เกี่ยวกับการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยประเด็นที่มีความรู้น้อย คือ ประเด็นฟางข้าวสามารถนำมาแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด และประเด็นที่มีความรู้มาก คือประเด็นการนำ ฟางข้าวมาแปรรูปมาผลิตเป็นอาหารสัตว์สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและลดต้นทุนการผลิตได้ 3) เกษตรกรมีการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในภาพรวมระดับน้อย โดยประเด็นที่นำไปปฏิบัติน้อยที่สุด คือ นำฟางข้าวแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด และประเด็นที่นำไปปฏิบัติมาก คือนำฟางข้าวมาอัดเป็นก้อนเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ 4) เกษตรกรมีปัญหาที่เกี่ยวกับการส่งเสริมการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ในภาพรวม อยู่ในระดับมากโดยมีประเด็นปัญหามากที่สุด คือ ด้านการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ประเด็นขาดความรู้เรื่อง การแปรรูปฟางข้าวเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด และ 5) เกษตรกรเห็นด้วยกับแนวทางการส่งเสริมการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเห็นด้วยมากที่สุดกับแนวทาง ด้านนโยบายและกฎหมายในประเด็นการสนับสนุนงบประมาณในการสร้างการรับรู้ เรื่องการจัดการเศษวัสดุทางการเกษตรเพื่อทดแทนการเผา และแนวทาง ด้านวิธีการส่งเสริมรายบุคคล ในประเด็นการส่งเสริมให้เกษตรกรตระหนักถึงการลด/เลิกการเผาตอซังและฟางข้าว
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13564
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2649001589.pdf1.39 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น