กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13567
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของเกษตรกรในจังหวัดบุรีรัมย์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Guidelines for agrotourism development of farmers in Buriram Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พลสราญ สราญรมย์ application/pdf สุราษฎร์ แก้วอารี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา บำเพ็ญ เขียวหวาน |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์ การท่องเที่ยวเชิงเกษตร--ไทย--บุรีรัมย์ |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพส่วนบุคคล สังคม และเศรษฐกิจของเกษตรกรที่ดำเนินการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดบุรีรัมย์ 2) การจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตร 3) แรงจูงใจของนักท่องเที่ยว 4) ความพึงพอใจในการจัดการท่องเที่ยว 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะ และ 6) แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตร การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบสำรวจ ประชากรที่ศึกษาคือ 1) เกษตรกรสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและเกษตรรุ่นใหม่ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากคณะกรรมการวิสาหกิจชุมชน ได้จำนวน 26 คน 2) นักท่องเที่ยว ประชากรกำหนดไม่ได้ กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากสูตรของ W.G. Cochran ที่ระดับค่าความคาดเคลื่อนร้อยละ 5 ได้กลุ่มตัวอย่าง 385 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 3) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ได้แก่ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานท่องเที่ยวเชิงเกษตร ตัวแทนเกษตรกร จำนวน 9 ราย เครื่องมือที่ใช้คือแบบสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกร ร้อยละ 65.4 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 49.58 ปี ส่วนใหญ่สถานภาพสมรส ประสบการณ์ทำการเกษตรเฉลี่ย 20.31 ปี ในส่วนของนักท่องเที่ยว พบว่า ร้อยละ 61.0 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 34.63 ปี ส่วนใหญ่มีสถานภาพโสด เดินทางมาท่องเที่ยวกับเพื่อน โดยรถยนต์ส่วนตัว 2) เกษตรกรมีการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในระดับมาก ได้แก่ ด้านการดึงดูดใจของแหล่งท่องเที่ยว และด้านบริหารจัดการ แหล่งท่องเที่ยว 3) แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ แรงจูงใจทางวัฒนธรรม แรงจูงใจทางสังคมและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 4) นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจในระดับมากในด้านการให้บริการของแหล่งท่องเที่ยว 5) ปัญหาในการพัฒนาท่องเที่ยวเชิงเกษตรกร ได้แก่ การประชาสัมพันธ์ ข้อมูลเครือข่ายแหล่งท่องเที่ยว ความชำนาญของมัคคุเทศก์ กิจกรรมเสริมสำหรับนักท่องเที่ยว และมีข้อเสนอแนะให้มีการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวในด้านต่าง ๆ รวมถึงการพัฒนาในด้านบุคลากร สินค้า/บริการ และพื้นที่ภายในแหล่งท่องเที่ยว 6) แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรสรุปได้ 4 ด้าน ได้แก่ (1) การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว ควรมีการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงาน พัฒนาผลิตภัณฑ์และมาตรฐานสินค้า (2) ด้านการรองรับของแหล่งท่องเที่ยว ควรเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร ที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวก (3) ด้านการให้บริการของแหล่งท่องเที่ยว มีการให้ความรู้ด้านมัคคุเทศก์ และการจัดกิจกรรมเสริมสำหรับนักท่องเที่ยว และ (4) ด้านการดึงดูดใจของแหล่งท่องเที่ยว ควรจัดให้มีกิจกรรมท่องเที่ยวที่หลากหลาย ปรับปรุงสถานที่ให้สวยงาม |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13567 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2649001670.pdf | 1.34 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น