Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13573
Title: | Online Agriculture Extension for Farmers in Trat Province การส่งเสริมการเกษตรแบบออนไลน์แก่เกษตรกรในจังหวัดตราด |
Authors: | KITTIMA LERTSAKUNTHONG กิตติมา เลิศสกุลทอง jinda khlibtong จินดา ขลิบทอง Sukhothai Thammathirat Open University jinda khlibtong จินดา ขลิบทอง [email protected] [email protected] |
Keywords: | แนวทางการส่งเสริม การเรียนรู้ด้านการเกษตรแบบออนไลน์ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) Extension Guidelines learning regarding online agriculture Agricultural Learning Center (ALC) |
Issue Date: | 23 |
Publisher: | Sukhothai Thammathirat Open University |
Abstract: | The objectives of this research were to study 1) general data of farmers who passed online agriculture learning 2) opinions about online agriculture learning of farmers 3) problems regarding the extension of online agriculture 4) needs for knowledge and learning channels of online agriculture 5) extension guidelines for online agriculture for farmers.The population of this study was 420 farmers who passed the training on leader farmers of the department of agricultural extension under the Agricultural Learning Center (ALC), Trat province from 2021-2022. The sample size of 205 people was determined by using Taro Yamane formula with the error value of 0.05 through simple random sampling method. Data were collected by using electronic questionnaires. Data were then analyzed by using statistics such as frequency, percentage, minimum value, maximum value, mean, standard deviation, and ranking.The results of the research revealed that 1) 62.4% of farmers were female with the average age of 56.42 years old, completed primary school education, and had the average experience in farming of 27.74 years. Most of them did gardening, held the average self-owning land of 17.62 Rai, held no social position, utilized their own smartphones to study online from home through their phone signal, and used Line, Facebook, and Zoom programs. The online courses they attended was on plant growing/cattle raising. 2) Farmers agreed with the learning through online system at the low level in every aspect such as instructor, learner, content, learning materials and knowledge resources, learning management process, communication process, communication system, information technology network system, and the assessment and evaluation, respectively. 3) The problems regarding online learning were at the high level on environment issue and personal issue while the problem at the moderate level included the learning support materials. 4) The knowledge needed consisted of productivity increase, cost reduction, and the improvement of product quality/ production standard creation through Facebook Live, Line, and Zoom. 5) The extension guideline for online agriculture according to the online learning composition were such as (1) the instructor developed the use of platform, equipment, media creation, and teaching technique ; (2) the learner learnt how to use media, platform, and equipment; (3) the content was clear, easy-to-understand, and interesting; (4) the learning materials and knowledge resources were accurate and attractive; (5) good learning management process design and learning environment ; (6) create communication system through the creation of knowledge platform; (7) preparing information technology network system to be ready; and (8) assess and evaluate the appropriate model for online learning. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกรที่ผ่านการเรียนรู้ด้านการเกษตรแบบออนไลน์ 2) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนรู้ด้านการเกษตรแบบออนไลน์ของเกษตรกร 3) ปัญหาการส่งเสริมการเกษตรแบบออนไลน์ 4) ความต้องการความรู้และช่องทางการเรียนรู้ด้านการเกษตรแบบออนไลน์ 5) แนวทางการส่งเสริมการเกษตรแบบออนไลน์แก่เกษตรกรประชากรที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ ได้แก่ เกษตรกรที่ผ่านการอบรมหลักสูตรเกษตรกรผู้นำของกรมส่งเสริมการเกษตร ภายใต้โครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) จังหวัดตราด ปี 2564 – 2565 จำนวน 420 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 205 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามทางอิเล็กทรอนิกส์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรร้อยละ 62.4 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 56.42 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ประสบการณ์ทำการเกษตรเฉลี่ย 27.74 ปี ส่วนใหญ่ทำสวน ถือครองที่ดินของตนเองเฉลี่ย 17.62 ไร่ ส่วนใหญ่ไม่มีตำแหน่งทางสังคม เกษตรกรใช้สมาร์ตโฟนของตนเองเรียนออนไลน์ที่บ้านผ่านสัญญาณโทรศัพท์มือถือ ใช้โปรแกรม Line, Facebook และ Zoom หลักสูตรออนไลน์ที่เคยเรียนคือปลูกพืช/เลี้ยงสัตว์ 2) เกษตรกรเห็นด้วยกับการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ระดับน้อยทุกด้าน ได้แก่ ผู้สอน ผู้เรียน เนื้อหา สื่อการเรียนและแหล่งเรียนรู้ กระบวนการจัดการเรียนรู้ ระบบการติดต่อสื่อสาร ระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ และการวัดและการประเมินผล ตามลำดับ 3) ปัญหาการเรียนรู้ออนไลน์ในระดับมากคือปัญหาด้านสภาพแวดล้อม ปัญหาส่วนบุคคล และปัญหาด้านการเรียน ระดับปานกลางคือปัญหาด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ 4) ความรู้ที่ต้องการคือ การเพิ่มผลผลิต การลดต้นทุน และการพัฒนาคุณภาพผลผลิต/การจัดทำมาตรฐานการผลิต ผ่านโปรแกรม Facebook Live, Line และ Zoom 5) แนวทางการส่งเสริมการเกษตรแบบออนไลน์ตามองค์ประกอบการเรียนรู้แบบออนไลน์ คือ (1) ผู้สอนพัฒนาการใช้แพลตฟอร์ม อุปกรณ์ การผลิตสื่อ เทคนิคการสอน (2) ผู้เรียนเรียนรู้การใช้สื่อ แพลตฟอร์มและอุปกรณ์ (3) เนื้อหาชัดเจน เข้าใจง่าย ทันสมัย เข้ากับสถานการณ์ (4) สื่อการเรียนและแหล่งเรียนรู้ถูกต้อง ดึงดูดความสนใจ (5) ออกแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้ และสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ดี (6) ระบบการติดต่อสื่อสาร สร้างแพลตฟอร์มการเรียนรู้ (7) จัดเตรียมระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศให้พร้อม และ (8) การวัดและประเมินผลด้วยรูปแบบที่เหมาะสมกับออนไลน์ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13573 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2649002132.pdf | 1.76 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.