Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13576
Title: | สื่อที่เหมาะสมในการส่งเสริมการใช้น้ำหมักชีวภาพจากปลาของหมอดินอาสาจังหวัดสมุทรปราการ |
Other Titles: | Appropriate media for extension of fermented bio-extract from fish of volunteer soil technicians in Samut Prakan Province |
Authors: | จินดา ขลิบทอง ทศพร รอดหลง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์ น้ำหมักชีวภาพ การจัดการดิน--ไทย--สมุทรปราการ |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของหมอดินอาสาจังหวัดสมุทรปราการ 2) การใช้สื่อเกี่ยวกับน้ำหมักชีวภาพของกรมพัฒนาที่ดินของหมอดินอาสา 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะต่อการใช้สื่อเกี่ยวกับน้ำหมักชีวภาพของกรมพัฒนาที่ดินของหมอดินอาสา และ 4) ความต้องการและแนวทางการพัฒนาสื่อในการส่งเสริมการใช้น้ำหมักชีวภาพจากปลาของหมอดินอาสาการวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ หมอดินอาสาจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 226 ราย จากแอปพลิเคชันไลน์กลุ่มหมอดินอาสาจังหวัดสมุทรปราการ กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน ความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 144 ราย สุ่มตัวอย่างแบบพบโดยบังเอิญ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามทางอิเล็กทรอนิกส์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับผลการวิจัยพบว่า 1) หมอดินอาสาส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 52.20 ปี การศึกษาระดับประถมศึกษา ประกอบอาชีพเกษตรกร สมาชิกครัวเรือนเฉลี่ย 4.01 คน พื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 7.44 ไร่ ประสบการณ์การเป็นหมอดินเฉลี่ย 15.83 ปี ใช้แหล่งความรู้ด้านการพัฒนาที่ดินจากแผ่นพับและส่วนใหญ่มีโทรศัพท์สมาร์ทโฟน 2) หมอดินอาสามีประสบการณ์การใช้น้ำหมักชีวภาพระดับมากในทุกๆ ด้าน มีการใช้ประโยชน์จากสื่อของกรมพัฒนาที่ดินมากที่สุดคือ สื่อสิ่งพิมพ์ ประเภท แผ่นพับ โปสเตอร์และเอกสารความรู้/คู่มือ รองลงมาคือ สื่อออนไลน์ ประเภท ยูทูป อินโฟกราฟิกและสื่อวิดิทัศน์ 3) หมอดินอาสาส่วนใหญ่มีปัญหาการใช้สื่อสิ่งพิมพ์ คือ ได้รับเอกสารล่าช้า ไม่ทันต่อการใช้งานมากที่สุด รองลงมาคือ ไม่ทราบว่ามีสื่อใดบ้าง เอกสารไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ความไม่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และเนื้อหาขาดความทันสมัยในระดับมาก ด้านปัญหาการใช้สื่อออนไลน์ มีปัญหาการขาดความชำนาญในการใช้สื่อ ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีความเร็วต่ำ การขาดแคลนอุปกรณ์ในการใช้สื่อ ไม่ทราบว่ามีสื่อใดบ้างและความไม่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ อยู่ในระดับมาก 4) หมอดินอาสามีความต้องการสื่อที่เหมาะสมตามความต้องการในการส่งเสริมการใช้น้ำหมักชีวภาพจากปลามากที่สุด คือ สื่อออนไลน์ประเภทสื่อวิดิทัศน์ โดยมีระดับความต้องการในการพัฒนาสื่อมากที่สุดทุกด้าน คือ ด้านรูปแบบ ด้านข้อมูล/เนื้อหาสาระ และด้านการบริหารจัดการ/การผลิต จากการวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาสื่อดังกล่าวนี้หมอดินอาสาส่วนใหญ่เน้นความสำคัญด้านเนื้อหาของสื่อควรมีความกระชับ เข้าใจง่าย มีความทันสมัย และมีข้อมูลถูกต้อง และควรมีการจัดทำเว็บไซต์รวบรวมสื่อเพื่อความสะดวกในการใช้งาน |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13576 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2649002207.pdf | 2.77 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.