Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13577
Title: | Extension of Tangerine Cultivation of Farmers in Thung Khru Area Bangkok การส่งเสริมการปลูกส้มเขียวหวานของเกษตรกรในเขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร |
Authors: | TIN CHAISIRIJAROENPUN ติณห์ ชัยสิริเจริญพันธ์ Nareerut Seerasarn นารีรัตน์ สีระสาร Sukhothai Thammathirat Open University Nareerut Seerasarn นารีรัตน์ สีระสาร [email protected] [email protected] |
Keywords: | ส้มเขียวหวาน การส่งเสริม การปลูกส้มเขียวหวาน Tangerines Extension Tangerine cultivation |
Issue Date: | 10 |
Publisher: | Sukhothai Thammathirat Open University |
Abstract: | This research aims to study 1) the basic social and economic conditions of farmers, 2) conditions of tangerine cultivation, 3) problems and suggestions regarding the extension of tangerine cultivation, and 4) the extension needs of tangerine cultivation by farmers.The research was survey method. The population was tangerine farmers in the Thung Khru area, Bangkok who registered with the Department of Agricultural Extension in 2022. Total 120 farmers were interviewed as part of the research and data was collected from the entire population. Data statistic was analyzed with frequency distribution, percentage, minimum, maximum, mean, standard deviation, and ranking. The results found that 1) most farmers were male, an average age of 60.54 years, and graduated from primary school. The average agricultural area was 3.70 rai. Most farmers had never received the training in quality tangerine production. The average number of agricultural workers per farm was 1.57, with an average cost of growing tangerines was 7,765.00 baht/rai/year, using funds for their own production. 2) The soil type for tangerine production was clay loam. Irrigation was mainly from portable water supply. Farmers used seedlings of tangerine varieties in the general market. The research found that most outbreaks were root rot disease. Most farmers did not receive certification of Good Agricultural Practices standards for tangerine production. 3) Farmers had the problems in the extension of tangerine production at the highest level on issues of the supporting: The issue was not knowing where to buy a good seedling including the high price of production factors. The suggestion of farmers included; that the agency should support the procurement of good quality seedling and the lower prices of production factor. The farmers also recommended that relevant agencies should provide support for soil analysis. Knowledge should be extension about the advantages of being certified with Good Agricultural Practice standards for citrus production. In addition, farmers would like assistance in pushing the market by focusing more on promoting sales to middlemen and more cooperation with research educational institutions to develop new knowledge and innovations to reduce costs and increase income for farmers. 4) Farmers' extension needs of tangerine production in terms of support about factors of production source, good quality seedling, group management process to develop online distribution channels, and market linkages in the form of group extension methods. การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) สภาพการปลูกส้มเขียวหวาน 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมการปลูกส้มเขียวหวาน และ 4)ความต้องการการส่งเสริมการปลูกส้มเขียวหวานของเกษตรกร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกส้มเขียวหวานในพื้นที่เขตทุ่งครุกรุงเทพมหานคร ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตรประจำปี 2565 จำนวนทั้งหมด 120 ราย และเก็บข้อมูลจากประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสถิติ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดลำดับ ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรส่วนมากเป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 60.54 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีขนาดพื้นที่ทางการเกษตรเฉลี่ย 3.70 ไร่ เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่เคยได้รับการอบรมความรู้ในการผลิตส้มเขียวหวานให้มีคุณภาพ มีแรงงานทำการเกษตรเฉลี่ย 1.57 คน มีต้นทุนในการปลูกส้มเขียวหวานเฉลี่ย 7,765.00 บาท/ไร่/ปี โดยใช้เงินทุนในการผลิตของตนเอง (2) สภาพการผลิตส้มเขียวหวานโดยเป็นดินร่วนปนเหนียว ใช้น้ำประปาเป็นหลัก เกษตรกรใช้ต้นพันธุ์ส้มเขียวหวานตามท้องตลาดทั่วไป พบการระบาดของโรครากเน่ามากที่สุด และเกษตรกรส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของส้ม (3) เกษตรกรมีปัญหาในด้านของการส่งเสริมการผลิตส้ม ด้านการสนับสนุนในระดับมากที่สุด คือประเด็นไม่ทราบแหล่งที่จะหาซื้อส้มพันธุ์ดี รวมถึงปัจจัยการผลิตมีราคาสูง และข้อเสนอแนะของเกษตรกร คือประเด็นหน่วยงานควรสนับสนุนจัดหาต้นพันธุ์คุณภาพ และปัจจัยการผลิตให้มีราคาต่ำลง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการสนับสนุนลงการตรวจวิเคราะห์ดิน ควรส่งเสริมให้ความรู้ถึงข้อดีของการได้รับการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของส้ม ให้ความช่วยเหลือผลักดันด้านตลาด โดยเน้นการการส่งเสริมการขายไปยังคนกลางมากขึ้น และทำความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ นวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรต่อไป (4) เกษตรกรมีความต้องการในการส่งเสริมการผลิตส้มด้านการสนับสนุนเกี่ยวกับ ปัจจัยการผลิต แหล่งต้นพันธุ์ดีที่มีคุณภาพ กระบวนการบริหารจัดการกลุ่มเพื่อพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายแบบออนไลน์ และการเชื่อมโยงตลาด ในรูปแบบวิธีการส่งเสริมแบบกลุ่ม |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13577 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2649002249.pdf | 6.24 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.