กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13577
ชื่อเรื่อง: การส่งเสริมการปลูกส้มเขียวหวานของเกษตรกรในเขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension of tangerine cultivation of farmers in Thung Khru Area Bangkok
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นารีรัตน์ สีระสาร
ติณห์ ชัยสิริเจริญพันธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ปริชาติ ดิษฐกิจ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
ส้มเขียวหวาน--การปลูก
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) สภาพการปลูกส้มเขียวหวาน  3) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมการปลูกส้มเขียวหวาน และ 4)ความต้องการการส่งเสริมการปลูกส้มเขียวหวานของเกษตรกร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกส้มเขียวหวานในพื้นที่เขตทุ่งครุกรุงเทพมหานคร ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตรประจำปี 2565 จำนวนทั้งหมด 120 ราย และเก็บข้อมูลจากประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสถิติ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดลำดับ ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรส่วนมากเป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 60.54 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีขนาดพื้นที่ทางการเกษตรเฉลี่ย 3.70 ไร่ เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่เคยได้รับการอบรมความรู้ในการผลิตส้มเขียวหวานให้มีคุณภาพ มีแรงงานทำการเกษตรเฉลี่ย 1.57 คน มีต้นทุนในการปลูกส้มเขียวหวานเฉลี่ย 7,765.00 บาท/ไร่/ปี โดยใช้เงินทุนในการผลิตของตนเอง (2) สภาพการผลิตส้มเขียวหวานโดยเป็นดินร่วนปนเหนียว ใช้น้ำประปาเป็นหลัก เกษตรกรใช้ต้นพันธุ์ส้มเขียวหวานตามท้องตลาดทั่วไป พบการระบาดของโรครากเน่ามากที่สุด และเกษตรกรส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของส้ม (3) เกษตรกรมีปัญหาในด้านของการส่งเสริมการผลิตส้ม ด้านการสนับสนุนในระดับมากที่สุด คือประเด็นไม่ทราบแหล่งที่จะหาซื้อส้มพันธุ์ดี รวมถึงปัจจัยการผลิตมีราคาสูง และข้อเสนอแนะของเกษตรกร คือประเด็นหน่วยงานควรสนับสนุนจัดหาต้นพันธุ์คุณภาพ และปัจจัยการผลิตให้มีราคาต่ำลง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการสนับสนุนลงการตรวจวิเคราะห์ดิน ควรส่งเสริมให้ความรู้ถึงข้อดีของการได้รับการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของส้ม ให้ความช่วยเหลือผลักดันด้านตลาด โดยเน้นการการส่งเสริมการขายไปยังคนกลางมากขึ้น และทำความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ นวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรต่อไป (4) เกษตรกรมีความต้องการในการส่งเสริมการผลิตส้มด้านการสนับสนุนเกี่ยวกับ ปัจจัยการผลิต แหล่งต้นพันธุ์ดีที่มีคุณภาพ กระบวนการบริหารจัดการกลุ่มเพื่อพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายแบบออนไลน์ และการเชื่อมโยงตลาด ในรูปแบบวิธีการส่งเสริมแบบกลุ่ม
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13577
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2649002249.pdf6.24 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น