Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13580
Title: | แนวทางพัฒนาการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน ในอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ |
Other Titles: | Development guidelines of community enterprise in Mueang Phetchabun District, Phetchabun Province |
Authors: | จินดา ขลิบทอง สุวรรณา วันตา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์ วิสาหกิจชุมชน--ไทย--เพชรบูรณ์ |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน (2) การดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน (3) เปรียบเทียบการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน (4) ปัญหาในการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน (5) ความต้องการและแนวทางพัฒนาวิสาหกิจชุมชนประชากรที่ใช้ศึกษา คือ วิสาหกิจชุมชนในอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 154 แห่ง กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร ทาโร ยามาเน ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวนวิสาหกิจชุมชน 111 กลุ่ม ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ได้กลุ่มระดับดี 49 และกลุ่มระดับปานกลาง 105 กลุ่ม เก็บรวบรวมโดยการสุ่มอย่างง่าย ตัวแทนสมาชิกกลุ่มละ 2 คน รวม 222 ตัวอย่าง เก็บรวบรวมโดยใช้แบบสัมภาษณ์ แล้วสนทนากลุ่มกับประธาน กรรมการ และนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร รวมทั้งหมด 13 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มระดับดี สมาชิกส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 53.60 ปี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือปวช. ประกอบอาชีพเกษตรกรรม กลุ่มระดับปานกลาง สมาชิกส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 51.36 ปี จบระดับประถมศึกษา ประกอบอาชีพเกษตรกรรม (2) การดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มระดับดี อยู่ในระดับมาก และกลุ่มระดับปานกลาง มีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง (3) การดำเนินงาน วิสาหกิจชุมชนระดับดี และระดับปานกลาง มีผลการดำเนินงานการบริหารจัดการกลุ่ม ด้านการผลิต ด้านการตลาด ด้านบัญชีหรือการเงิน แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติที่ระดับ 0.01 ยกเว้นการระดมทุนจากสมาชิกไม่แตกต่างกันทางสถิติ (4) ปัญหาในการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน กลุ่มระดับดีอยู่ในระดับน้อย กลุ่มระดับปานกลางอยู่ในระดับปานกลาง (5) สมาชิกวิสาหกิจชุมชนทั้งกลุ่มระดับดีและกลุ่มระดับปานกลาง มีความต้องการการส่งเสริมผ่านช่องทางจากเจ้าหน้าที่ของรัฐมากที่สุด โดยวิธีศึกษาดูงาน กลุ่มระดับดี วางแผนปัจจัยการผลิต เพื่อให้มีแหล่งวัตถุดิบที่เพียงพอและส่งเสริมการบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมเทคโนโลยี นวัตกรรรม พัฒนารูปแบบสินค้าให้มีเอกลักษณ์โดดเด่น ส่งเสริมให้เป็นวิสาหกิจชุมชนต้นแบบ เป็นแหล่งเรียนรู้ และแหล่งศึกษาดูงาน กลุ่มระดับปานกลาง ผลิตสินค้าให้มีคุณภาพตามตลาดต้องการ และการลดต้นทุนการผลิต พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน ศึกษาแนวโน้มของตลาด พัฒนาความรู้ในด้านการจัดการบัญชีและสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนของสถาบันการเงินได้ และพัฒนาให้เป็นวิสาหกิจชุมชนระดับดีต่อไป |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13580 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2649002397.pdf | 1.78 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.