กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13581
ชื่อเรื่อง: การส่งเสริมการผลิตผักเหลียงคุณภาพในจังหวัดภูเก็ต
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension of quality baegu production in Phuket Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นารีรัตน์ สีระสาร
ปรียานันท์ กาญจนารัตน์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
ผักเหลียง--ไทย--ภูเก็ต--การผลิต
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ 2) สภาพการผลิตผักเหลียงคุณภาพ 3) ความรู้เกี่ยวกับการผลิตผักเหลียงคุณภาพ 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการผลิตผักเหลียงคุณภาพ และ 5) ความต้องการการส่งเสริมการผลิตผักเหลียงคุณภาพของเกษตรกร การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบสำรวจ ประชากรที่ศึกษาคือ เกษตรกรผู้ปลูกผักเหลียงคุณภาพในจังหวัดภูเก็ตที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับสำนักงานเกษตรจังหวัดภูเก็ต ปี 2565 จำนวน 215 ราย กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร ทาโร ยามาเน ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 140 ราย โดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการจัดอันดับ ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 55.48 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ประสบการณ์การปลูกผักเหลียงคุณภาพเฉลี่ย 7.74 ปี พื้นที่ปลูกผักเหลียงคุณภาพเฉลี่ย 2.42 ไร่ ผลผลิตผักเหลียงคุณภาพเฉลี่ย 169.66 กิโลกรัมต่อไร่ รายได้จากการจำหน่ายผักเหลียงคุณภาพเฉลี่ย 14,321.43 บาทต่อปี รายจ่ายจากการผลิตผักเหลียงคุณภาพเฉลี่ย 1,720.50 บาทต่อปี จำนวนแรงงานภาคเกษตรในครัวเรือนเฉลี่ย 2.09 คน 2) เกษตรกรส่วนใหญ่ซื้อต้นพันธุ์ผักเหลียงมาปลูก พื้นที่ปลูกเป็นที่ราบ การปลูกแบบพืชแซม ใช้น้ำฝน มีการตัดแต่งทรงพุ่ม และการผลิตผักเหลียงไม่ได้รับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี นำผักเหลียงไปจำหน่ายด้วยตัวเองซึ่งเกษตรกรเป็นผู้กำหนดราคาผลผลิต 3) เกษตรกรมีความรู้ระดับมากในประเด็นด้านการผลิตผักเหลียงให้ได้คุณภาพและขาดความรู้ด้านการเก็บเกี่ยวโดยอย่าให้ใบหรือยอดอ่อนนั้นถูกแสงแดดและลม 4) เกษตรกรมีปัญหาระดับปานกลางด้านการตลาดโดยขาดแหล่งจำหน่ายโดยมีข้อเสนอแนะให้สร้างจุดรวบรวมเพื่อการจำหน่ายสินค้า 5) เกษตรกรมีความต้องการในการส่งเสริมการผลิตผักเหลียงคุณภาพ โดยวิธีการแบบกลุ่ม โดยควรมีการส่งเสริมการผลิตผักเหลียงคุณภาพเพื่อการท่องเที่ยว เช่น เกษตรเชิงท่องเที่ยวและเกษตรกรต้องการให้เจ้าหน้าที่เข้ามาส่งเสริมในพื้นที่ในด้านการผลิตผักเหลียงคุณภาพ เรื่องการขยายพันธุ์ผักเหลียง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13581
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2649002413.pdf1.23 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น