กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13582
ชื่อเรื่อง: | การส่งเสริมการใช้ชีวภัณฑ์ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในตำบลสำพะเนียง อำเภอโนนแดง จังหวัดนครราชสีมา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Extension of microbial pesticide utilization of farmers in Sam Phaniang Sub-district, Non Daeng District, Nakhon Ratchasima Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ จุฑารัตน์ วงษ์คงคำ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา จินดา ขลิบทอง |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์ ข้าว--เกษตรอินทรีย์--ไทย--นครราชสีมา |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพพื้นฐานทั่วไปและสภาพการผลิตข้าว 2) ศึกษาการใช้ชีวภัณฑ์ในการผลิตข้าวของเกษตรกร 3) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรในการใช้ชีวภัณฑ์ 4) ศึกษาการได้รับและความต้องการการส่งเสริมการใช้ชีวภัณฑ์ของเกษตรกร และ 5) วิเคราะห์และสังเคราะห์แนวทางการส่งเสริมการใช้ชีวภัณฑ์แก่เกษตรกร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวกับ กรมส่งเสริมการเกษตร ปี 2565 ในตำบลสำพะเนียง อำเภอโนนแดง จังหวัดนครราชสีมา จำนวนรวมทั้งหมด 970 ราย กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน ที่ความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 283 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่าย ใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติที่ใช้ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดลำดับ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรร้อยละ 61.8 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 54.41 ปี มีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 12.85 ไร่ ได้ผลผลิตเฉลี่ย 367.47 กิโลกรัมต่อไร่ ประสบการณ์การผลิตข้าวเฉลี่ย 22.2 ปี มีรายได้ภาคการเกษตรเฉลี่ย 43,480.35 บาทต่อปี 2) เกษตรกรมีระดับการปฏิบัติและระดับความสำคัญในการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาอยู่ในระดับน้อยที่สุด และมีระดับการปฏิบัติและระดับความสำคัญในการใช้เชื้อราบิวเวอเรียอยู่ในระดับน้อยที่สุด 3) เกษตรกรมีปัญหาด้านการซื้อ/จัดหาชีวภัณฑ์และด้านการใช้ชีวภัณฑ์ในระดับมาก ซึ่งเกษตรกรมีข้อเสนอแนะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำรวจความต้องการชีวภัณฑ์ของเกษตรกรอย่างต่อเนื่องและสนับสนุนชีวภัณฑ์ให้เกษตรกรในช่วงเพาะปลูก พร้อมทั้งจัดฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้ด้านการผลิตและการใช้ชีวภัณฑ์ให้เกษตรกรก่อนฤดูการเพาะปลูก 4) เกษตรกรได้รับการส่งเสริมการใช้ชีวภัณฑ์ด้านความรู้ ด้านนักส่งเสริม (สื่อบุคคล) และด้านรูปแบบ/วิธีการส่งเสริมในระดับน้อย ซึ่งได้รับด้านช่องทางหรือสื่อระดับน้อยที่สุด และเกษตรกรมีความต้องการการส่งเสริมการใช้ชีวภัณฑ์ด้านช่องทางหรือสื่อในระดับปานกลาง ด้านความรู้ ด้านนักส่งเสริม (สื่อบุคคล) และด้านรูปแบบ/วิธีการส่งเสริมการใช้ชีวภัณฑ์ในระดับมาก และ 5) แนวทางการส่งเสริมการใช้ชีวภัณฑ์ในการผลิตข้าว โดยนักส่งเสริมการเกษตรให้ความรู้แก่เกษตรกร เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ส่งเสริมเกษตรกรผ่านช่องทางการสื่อสาร ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ และการอบรม ดูงานและฝึกปฏิบัติ เป็นการให้องค์ความรู้แก่เกษตรกรเพื่อให้เกษตรกรมองเห็นภาพ เกิดความเข้าใจและสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง และติดตามเยี่ยมเยียนเกษตรกรในช่วงการเพาะปลูก เพื่อส่งเสริมและให้คำแนะนำแก่เกษตรกร |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13582 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2649002488.pdf | 1.75 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น