Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13583
Title: | ความต้องการการส่งเสริมการใช้ชีวภัณฑ์ในการผลิตข้าวของเกษตรกรกลุ่มแปลงใหญ่ข้าว ในอำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม |
Other Titles: | Extension needs of microbial pesticide application for rice production by farmers of rice’s collaborative farming in Nawa District, Nakhon Phanom Province |
Authors: | เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ สุภาพร ลิมปิฐาภรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา พลสราญ สราญรมย์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์ ข้าว--เกษตรอินทรีย์--ไทย--นครพนม |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สังคม และเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) ความรู้เกี่ยวกับการใช้ชีวภัณฑ์ในการผลิตข้าวของเกษตรกร 3) สภาพการผลิตข้าวและการใช้ชีวภัณฑ์ในการผลิตข้าวของเกษตรกร 4) การได้รับการส่งเสริมการใช้ชีวภัณฑ์ในการผลิตข้าวของเกษตรกร 5) ความต้องการการส่งเสริมการใช้ชีวภัณฑ์ในการผลิตข้าวของเกษตรกร 6) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการใช้ชีวภัณฑ์ในการผลิตข้าวของเกษตรกร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ศึกษาคือ เกษตรกรที่เป็นสมาชิกกลุ่มแปลงใหญ่ข้าว ในอำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม ที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานเกษตรอำเภอนาหว้า ปี 2565 จำนวน 356 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.06 ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 156 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยวิธีจับสลาก เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 55.42 ปี ร้อยละ 37.8 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 30.8 เป็นสมาชิกธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.) ร้อยละ 42.9 มีตำแหน่งทางสังคมเป็นคณะกรรมการหมู่บ้าน มีพื้นที่ปลูกข้าวเฉลี่ย 10.3 ไร่ ต้นทุนการผลิตข้าวเฉลี่ย 2,756.0 บาท/ไร่ มีผลผลิตเฉลี่ย 344.0 กิโลกรัม/ไร่ รายได้จากการทำนาเฉลี่ย 32,152.3 บาท/ปี 2) เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 99.4 มีความรู้ประเด็นการขยายเชื้อราไตรโคเดอร์มาโดยใช้อัตราส่วนข้าวสาร 3 ส่วนต่อน้ำ 2 ส่วน และมีความรู้ประเด็นการเก็บรักษาเชื้อราบิวเวอเรียในที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่ให้ถูกแสงแดดจัด 3) เกษตรกรทั้งหมดปลูกข้าวนาปี โดยร้อยละ 90.38 ปลูกข้าวพันธุ์ กข 6 รองลงมาร้อยละ 51.92 ปลูกข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และเกษตรกรร้อยละ 96.15 ใส่ปุ๋ยเคมี เกษตรกรร้อยละ 94.87 ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในสองประเด็น ได้แก่ เริ่มใช้เชื้อราไตรเดอร์มาหลังจากการบ่มครบกำหนด 7 -10 วัน แล้วเห็นว่าเชื้อราบนเมล็ดข้าวมีสีเขียวทั่วทั้งถุง และใช้ในช่วงเวลาในการฉีดพ่นคือช่วงเช้าหรือเย็น เป็นช่วงที่ไม่มีแสงแดด ขณะที่เกษตรกรร้อยละ 45.51 ใช้เชื้อราบิวเวอเรียสองประเด็น ได้แก่ การฉีดพ่นควรให้ถูกตัวแมลง และอัตราการผสมคือ 250 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมสารจับใบเพื่อประสิทธิภาพ 4) เกษตรกรได้รับการส่งเสริมการใช้ชีวภัณฑ์ในการผลิตข้าวผ่านสื่อกลุ่มในระดับมาก ผ่านการสาธิต 5) เกษตรกรมีความต้องการการส่งเสริมการใช้ชีวภัณฑ์ในการผลิตข้าวในระดับมากสองประเด็น ได้แก่ ประเด็นด้านการสนับสนุน โดยต้องการวัสดุอุปกรณ์ หัวเชื้อ และประเด็นด้านเนื้อหา โดยต้องการเนื้อหาความรู้ในการใช้ชีวภัณฑ์ในการป้องกันและกำจัดโรค และแมลงศัตรูพืชในการผลิตข้าวอย่างถูกวิธี และมีความต้องการในระดับปานกลางในประเด็นด้านวิธีการส่งเสริม โดยผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ 6) เกษตรกรมีปัญหามากในด้านการใช้ และการสนับสนุนชีวภัณฑ์ โดยให้ข้อเสนอแนะว่าควรมีการสนับสนุนองค์ความรู้ วิธีการใช้อย่างต่อเนื่อง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่เพื่อขยายชีวภัณฑ์ และควรสนับสนุนชีวภัณฑ์พร้อมใช้ให้กับเกษตรกร เมื่อพบปัญหาและต้องการใช้เร่งด่วน |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13583 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2649002512.pdf | 1.52 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.