กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13584
ชื่อเรื่อง: ความต้องการการส่งเสริมการผลิตทุเรียนอินทรีย์ของเกษตรกรแปลงใหญ่ทุเรียนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension needs of organic durian production of durian’s collaborative farming in Prachuap Khiri Khan Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ
อังคณา เจริญศิริ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
บำเพ็ญ เขียวหวาน
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
ทุเรียน--เกษตรอินทรีย์--ไทย--ประจวบคีรีขันธ์
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) สภาพการผลิตทุเรียนของเกษตรกร 3) ความรู้เกี่ยวกับการผลิตทุเรียนอินทรีย์ของเกษตรกร 4) การได้รับการส่งเสริมและความต้องการการส่งเสริมการผลิตทุเรียนอินทรีย์ของเกษตรกร 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการผลิตทุเรียนอินทรีย์ของเกษตรกรการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรสมาชิกแปลงใหญ่ทุเรียน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 225 ราย คำนวณโดยสูตรของทาโร ยามาเน ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 144 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยวิธีจับสลาก เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 59.78 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีประสบการณ์ปลูกทุเรียนเฉลี่ย 10.06 ปี มีพื้นที่ปลูกทุเรียนเฉลี่ย 10.41 ไร่ เกษตรกรทุกรายมีลักษณะการถือครองที่ดินเป็นของตัวเองทั้งหมด มีแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.28 คน มีรายได้จากการผลิตทุเรียนเฉลี่ย 91,493.06 บาทต่อไร่ และเกษตรกรส่วนใหญ่มีการกู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 2) เกษตรกรทุกรายปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทอง โดยมีการปลูกทุเรียนแบบขุดหลุมและมีการวางระบบน้ำหรือมีแหล่งน้ำในแปลง เกษตรกรส่วนใหญ่ปลุกทุเรียนแบบสวนเดี่ยว มีการจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน และใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี โดยช่องทางจำหน่ายผลผลิตของเกษตรกร คือ ขายผลผลิตโดยตรงให้กับผู้บริโภคและขายให้กับพ่อค้าคนกลาง 3) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการผลิตทุเรียนอินทรีย์ในระดับมาก โดยมีความรู้ในเรื่องการบันทึกข้อมูลการผลิตและการทวนสอบ และมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ 4) เกษตรกรได้รับการส่งเสริมในระดับน้อยทั้งด้านการส่งเสริมแบบกลุ่ม ด้านความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ความรู้ด้านการตลาด และด้านการสนับสนุน โดยในภาพรวมเกษตรกรมีความต้องการการส่งเสริมในระดับมากที่สุดใน 4 ประเด็น คือ ต้องการส่งเสริมด้านการสนับสนุน ด้านหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ส่งเสริม ด้านความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และด้านความรู้ด้านการตลาด ตามลำดับ 5) เกษตรกรมีปัญหามากที่สุด ในด้านการสนับสนุน รองลงมามีปัญหาอยู่ระดับปานกลาง 3 ประเด็น คือ ด้านการส่งเสริมแบบกลุ่ม ด้านความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และด้านหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ส่งเสริม ทั้งนี้เกษตรกรมีข้อเสนอแนะด้านการสนับสนุนมากที่สุด รองลงมาคือด้านหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ส่งเสริม และด้านความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ตามลำดับ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13584
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2649002520.pdf1.8 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น