กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13591
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนแปรรูปและผลิตภัณฑ์อาหารในจังหวัดกาญจนบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting to success of operation of The Community Enterprises Processing and Food Products in Kanchanaburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นารีรัตน์ สีระสาร
จันทร์จิรา เอี่ยมสะอาด
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
นารีรัตน์ สีระสาร
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
วิสาหกิจชุมชน--ไทย--กาญจนบุรี
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) เพื่อศึกษาสภาพสังคมและเศรษฐกิจของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน (2) เพื่อศึกษาการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน (3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน (4) เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบสำรวจ ประชากรที่ศึกษา คือ สมาชิกวิสาหกิจชุมชนที่จดทะเบียนเกี่ยวกับการแปรรูปและผลิตภัณฑ์อาหารในจังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 202 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรทาโร ยามาเน  ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 135 ราย โดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการจัดอันดับและการวิเคราะห์การถดถอยพหุ ผลการวิจัย พบว่า (1) สมาชิกวิสาหกิจชุมชนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 49.63 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า มีระยะเวลาการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนเฉลี่ย 12.81 ปี การก่อตั้งวิสาหกิจชุมชนส่วนใหญ่เกิดจากการส่งเสริมของหน่วยงาน สมาชิกวิสาหกิจชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร มีรายได้เฉลี่ยนจากการประกอบกิจการวิสาหกิจชุมชนเฉลี่ย 330,014.81 บาท/ปี ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่เป็นอาหารสำเร็จรูป และทุนในการประกอบกิจการส่วนใหญ่คือเงินทุนของสมาชิกเอง (2) การดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในด้านการบริหาร ด้านการผลิต ด้านสมาชิก/การมีส่วนร่วมในวิสาหกิจชุมชน ด้านการตลาด ด้านการเงิน/บัญชี ด้านการสนับสนุนจากภายนอก อยู่ในระดับมาก และในด้านข้อมูลข่าวสารอยู่ในระดับปานกลาง (3) ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงาน ได้แก่ ด้านรายได้ ด้านการเงิน/บัญชี ด้านการตลาด และ ด้านการผลิต โดยสมการสามารถทำนายความสำเร็จได้ร้อยละ 49.2 (4) สมาชิกวิสาหกิจชุมชนมีปัญหาระดับปานกลางด้านการตลาด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยังไม่ได้รับมาตรฐานการผลิตขาดความรู้ด้านการตลาดและบรรจุภัณฑ์ขาดช่องทางจัดจำหน่ายโดยมีข้อเสนอแนะ ให้มีการโฆษณา/ประชาสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ ผลิตภัณฑ์ต้องมีคุณภาพได้รับมาตรฐานการผลิต และกำหนดช่องทางจัดจำหน่ายที่แน่นอน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13591
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2659000307.pdf3.8 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น