กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13597
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในอำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting operation of community enterprise in Muang Tak District, Tak Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นารีรัตน์ สีระสาร
จิตพิสุทธิ์ กิติมูล
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
วิสาหกิจชุมชน--ไทย--ตาก
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของสมาชิกวิสาหกิจชุมชนในอำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก 2) สภาพการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในอำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก 3) ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในอำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในอำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก ประชากรในการศึกษา คือ สมาชิกวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก จดทะเบียนวิสาหกิจ ชุมชนกับกรมส่งเสริมการเกษตร ในปี พ.ศ. 2566 จำนวนรวมทั้งหมด 265 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ทำการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มแบบง่าย ได้กลุ่มตัวอย่าง 160 ราย เครื่องมือ ที่ใช้เก็บข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์ และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดลำดับ และสถิติถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า 1) สมาชิกวิสาหกิจชุมชนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 56.16 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีระยะเวลาเป็นสมาชิกวิสาหกิจชุมชนเฉลี่ย 6.59 ปี มีความถี่ในการเข้าร่วมกิจกรรมของวิสาหกิจชุมชนเฉลี่ย 9.01 ครั้ง/ปี มีรายได้ในครัวเรือนเฉลี่ย 157,200.00 บาท/ปี มีรายได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมวิสาหกิจชุมชนเฉลี่ย 2,526.71 บาท/ปี 2) วิสาหกิจชุมชนส่วนใหญ่เกิดจากการชักชวนของผู้นำ มีแหล่งเงินทุนจากการระดมทุนจากสมาชิก ไม่มีหนี้สิน จำหน่ายสินค้าภายในอำเภอ และได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานเกษตรอำเภอ/สำนักงานเกษตรจังหวัด 3) ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้ของครัวเรือน 4) ปัญหาในการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนอยู่ในระดับน้อย ประเด็น ด้านการวางแผน กลุ่มไม่มีการวางแผนถ่ายทอดความรู้และพัฒนาสมาชิกรุ่นใหม่ เพื่อสืบทอดงานสู่รุ่นต่อไป ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน อยู่ในระดับมากที่สุด ประเด็น ด้านการจัดการองค์กร กลุ่มควรมีการเปิดเผยข้อมูลทางการเงิน และข้อมูลอื่น ๆ ให้สมาชิกทราบอยู่เสมอ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13597
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2659000372.pdf1.43 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น