Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13622
Title: | การส่งเสริมการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ของเกษตรกรในพื้นที่อำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา |
Other Titles: | Extension of new theory agriculture for farmers in Sida District Area of Nakhon Ratchasima Province |
Authors: | สุนันท์ สีสังข์ ศุภลักษณ์ จันทร์วิทัน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา นารีรัตน์ สีระสาร |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์ เกษตรทฤษฎีใหม่--ไทย--นครราชสีมา |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลส่วนบุคคล สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) สภาพและปัญหาการทำเกษตรของเกษตรกร 3) ความรู้และการปฏิบัติของเกษตรกรตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ 4) ความต้องการและข้อเสนอของเกษตรกรเกี่ยวกับการการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ และ (5) แนวทางการส่งเสริมการทำเกษตรทฤษฎีใหม่การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบสำรวจ ประชากรในการวิจัย คือ เกษตรกรที่เข้าร่วม 1 ใน 3 โครงการเกษตรทฤษฏีใหม่ที่มีการส่งเสริมในอำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ 1) โครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ 2) โครงการ 5 ประสานสืบสานเกษตรทฤษฎีใหม่ ถวายในหลวง และ 3) โคก หนอง นา โมเดล จำนวนรวมทั้งสิ้น 431 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรทาโร ยามาเน ค่าความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้จำนวน 208 ราย การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิตามกลุ่มประชากร และสุ่มแบบง่ายในแต่ละกลุ่ม เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดอันดับ และการใช้การวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรคผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรร้อยละ 52.4 เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 59.55 ปี ประมาณกึ่งหนึ่งจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.03 คน ประสบการณ์ทำการเกษตรเฉลี่ย 33.82 ปี เกือบทั้งหมดได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ จากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร 2) สภาพดินที่ทำการเกษตรส่วนใหญเป็นดินเหนียว มีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอก มีปัญหาอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ น้ำไม่เพียงพอต่อการทำเกษตร และขาดการแปรรูปสินค้า ปัญหาระดับน้อยที่สุด คือ การใช้สารชีวภัณฑ์ 3) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับหลักการเกษตรทฤษฎีใหม่เป็นอย่างดี และมีการปฏิบัติตามหลักการเกษตรทฤษฎีใหม่เป็นประจำเกือบทุกประเด็น 4) เกษตรกรมีความต้องการการส่งเสริมความรู้อยู่ในระดับมาก ได้แก่ กระบวนการผลิต การจัดการพื้นที่ การจัดการผลผลิต 5) แนวทางในการส่งเสริมการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ให้ยั่งยืน โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน มีการรวมกลุ่ม และสวัสดิการ หน่วยงานภาครัฐควรมีการบูรณาการแผนงาน งบประมาณ การประชาสัมพันธ์ และการติดตามผล นอกจากนี้ควรแนะนำการจัดรูปแบบของเกษตรทฤษฎีใหม่ให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13622 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2659000786.pdf | 1.42 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.