กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13622
ชื่อเรื่อง: | An Extension of New Theory Agriculture for Farmers in Sida District Area of Nakhon Ratchasima Province การส่งเสริมการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ของเกษตรกรในพื้นที่อำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | Supaluk Jsmwitan ศุภลักษณ์ จันทร์วิทัน Sunan Seesang สุนันท์ สีสังข์ Sukhothai Thammathirat Open University Sunan Seesang สุนันท์ สีสังข์ [email protected] [email protected] |
คำสำคัญ: | New New theory agriculture principle Agricultural extension Integrated farming theory agriculture Agricultural extension Integrated farming |
วันที่เผยแพร่: | 27 |
สำนักพิมพ์: | Sukhothai Thammathirat Open University |
บทคัดย่อ: | The objectives of this research were to study 1) personal and socio-economic situations of farmers, 2) farming situations and problems of farmers, 3) knowledge and practice of farmers in accordance with new theory agriculture principle, 4) needs and suggestion of farmers in new theory agriculture operations, and (5) an extension guideline of new theory agriculture operations.The was a survey research, the population was 431 farmers in Sida District, Nakhon Ratchasima Province who participated in one of three new theory agriculture projects such as 1) One Sub-district One New Theory Agriculture Group, 2) Five Cooperation for Continuing New Theory Agriculture, and 3) Khok Nong Na Model. The samples were calculated by using Taro Yamane’s formula with an error level of 0.05 accounting for 208 farmers and selected by using stratified sampling method based on population group and simple random sampling method within each group. The data were collected by a structural interview and analyzed to determine frequency, percentage, mean, standard deviation, minimum and maximum values. The SWOT Analysis was also applied. The research findings showed that 1) 52.4 per cent of farmers had an average age of 59.55 years old and nearly a half of them finished higher secondary education. They had averages of 4.03 farm labors and 33.82 years of farming experience. Most of them received knowledge of new theory agriculture from agricultural extension officers. 2) Most of soil type was clay and applied organic or compose fertilizers. Their problems were indicated at highest level such as insufficient water for farming and no-processing of farm products, however the least problems were bio-substance utilization. 3) They had good knowledge and always performed in accordance with new theory agriculture principle in all aspects. 4) They needed knowledge at high level such as production process, farming area management, and product management. Furthermore 5) guideline for an extension of sustainable new theory agriculture consisted of knowledge sharing, group forming, and welfare management. The government agencies should have integrated plan, budget, public relations, evaluation and activity selection as appropriate to the farming area. การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลส่วนบุคคล สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) สภาพและปัญหาการทำเกษตรของเกษตรกร 3) ความรู้และการปฏิบัติของเกษตรกรตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ 4) ความต้องการและข้อเสนอของเกษตรกรเกี่ยวกับการการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ และ (5) แนวทางการส่งเสริมการทำเกษตรทฤษฎีใหม่การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบสำรวจ ประชากรในการวิจัย คือ เกษตรกรที่เข้าร่วม 1 ใน 3 โครงการเกษตรทฤษฏีใหม่ที่มีการส่งเสริมในอำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ 1) โครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ 2) โครงการ 5 ประสานสืบสานเกษตรทฤษฎีใหม่ ถวายในหลวง และ 3) โคก หนอง นา โมเดล จำนวนรวมทั้งสิ้น 431 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรทาโร ยามาเน ค่าความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้จำนวน 208 ราย การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิตามกลุ่มประชากร และสุ่มแบบง่ายในแต่ละกลุ่ม เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดอันดับ และการใช้การวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรคผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรร้อยละ 52.4 เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 59.55 ปี ประมาณกึ่งหนึ่งจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.03 คน ประสบการณ์ทำการเกษตรเฉลี่ย 33.82 ปี เกือบทั้งหมดได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ จากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร 2) สภาพดินที่ทำการเกษตรส่วนใหญเป็นดินเหนียว มีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอก มีปัญหาอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ น้ำไม่เพียงพอต่อการทำเกษตร และขาดการแปรรูปสินค้า ปัญหาระดับน้อยที่สุด คือ การใช้สารชีวภัณฑ์ 3) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับหลักการเกษตรทฤษฎีใหม่เป็นอย่างดี และมีการปฏิบัติตามหลักการเกษตรทฤษฎีใหม่เป็นประจำเกือบทุกประเด็น 4) เกษตรกรมีความต้องการการส่งเสริมความรู้อยู่ในระดับมาก ได้แก่ กระบวนการผลิต การจัดการพื้นที่ การจัดการผลผลิต 5) แนวทางในการส่งเสริมการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ให้ยั่งยืน โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน มีการรวมกลุ่ม และสวัสดิการ หน่วยงานภาครัฐควรมีการบูรณาการแผนงาน งบประมาณ การประชาสัมพันธ์ และการติดตามผล นอกจากนี้ควรแนะนำการจัดรูปแบบของเกษตรทฤษฎีใหม่ให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13622 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2659000786.pdf | 1.42 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น