กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13627
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจใช้การควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี ของเกษตรกรในพื้นที่ตำบลนบปริง อำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors relating to decision in used biological pest control by farmers in Nop Pring Sub-district, Mueang Phang Nga District, Phang Nga Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | บำเพ็ญ เขียวหวาน ณัฐกมล นุ่นแก้ว มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์ ศัตรูพืช--การควบคุมทางชีววิทยา--ไทย--พังงา |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมของเกษตรกร 2) ความรู้และแหล่งความรู้เกี่ยวกับการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธีของเกษตรกร 3) การควบคุมศัตรูพืช ความคิดเห็น และความต้องการใช้การควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธีของเกษตรกร 4) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจใช้การควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธีของเกษตรกร 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดการศัตรูพืชโดยชีววิธีของเกษตรกรการวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบสำรวจ ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรในพื้นที่ ตำบลนบปริง อำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา ซึ่งเป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกร ปี 2565 จำนวน 933 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรทาโร ยามาเน ที่ค่าความคลาดเคลื่อน 0.07 ได้จำนวน 168 คน สุ่มตัวอย่างแบบพบโดยบังเอิญ จัดเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูล โดยสถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดอันดับ และการทดสอบไคสแควร์ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 53.20 ปี ระดับการศึกษาระดับประถมศึกษา โดยมีอาชีพหลักและอาชีพเสริมเป็นเกษตรกรรม จำนวนแรงงานในการทำเกษตร เฉลี่ย 1.93 คน มีพื้นที่ถือครองทั้งหมด เฉลี่ย 9.71 ไร่ พื้นที่ในการทำการเกษตร เฉลี่ย 8.93 ไร่ รายได้ภาคการเกษตร เฉลี่ย 113,595.20 บาทต่อปี รายได้นอกภาคการเกษตรเฉลี่ย 13,470.24 บาทต่อปี และมีภาระหนี้สินเฉลี่ย 93,684.21 บาทต่อปี ส่วนใหญ่ไม่ดำรงตำแหน่งทางสังคม และไม่เป็นสมาชิกกลุ่ม 2) ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธีของเกษตรกรอยู่ในระดับปานกลาง และได้รับแหล่งความรู้จากสื่อกิจกรรมมากที่สุด 3) การควบคุมศัตรูพืช เกษตรกรที่ใช้สารชีวภัณฑ์มากกว่าการใช้แมลงศัตรูธรรมชาติ และใช้ไตรโคเดอร์มามากที่สุด และมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการส่งเสริมมากที่สุด โดยเฉพาะประเด็นการจัดการอบรมให้แก่เกษตรกรผู้สนใจ และมีความต้องการด้านการสนับสนุนมากที่สุด โดยเฉพาะประเด็นการสนับสนุนสื่อความรู้ และสื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อใช้สำหรับประชาสัมพันธ์แก่บุคคลที่สนใจ 4) อายุ ความรู้ของการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี และปัญหาของการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจใช้การควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และการเป็นสมาชิกกลุ่มมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติที่ระดับ 0.01 5) มีปัญหาเกี่ยวกับด้านสนับสนุนมากที่สุด โดยเฉพาะประเด็นไม่สามารถเข้าถึงการสนับสนุนจากทางภาครัฐ และเกษตรกรมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับด้านการส่งเสริมมากที่สุด โดยเฉพาะประเด็นการจัดทำแปลงตัวอย่างในชุมชน |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13627 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2659000869.pdf | 1.65 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น