กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13634
ชื่อเรื่อง: แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนตำบลแคน อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Guidelines for community enterprise development in Khaen Subdistrict, Sanom District, Surin Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นารีรัตน์ สีระสาร
ชมพูนุช สุขอินทร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
วิสาหกิจชุมชน--ไทย--สุรินทร์
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจ 2) การดำเนินการของวิสาหกิจชุมชน 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน 4) แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนตำบลแคน อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์ การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบสำรวจ ประชากรที่ศึกษา คือ 1) สมาชิกวิสาหกิจชุมชนตำบลแคน อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 170 ราย กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร่ ยามาเน ที่ค่าความคลาดเคลื่อนเท่ากับ 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่าง 120 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่าย 2) ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทั้ง 8 กลุ่ม จำนวน 8 ราย ศึกษาจากประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 2 เครื่องมือ ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ และ 2) การสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดอันดับ  และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) สมาชิกวิสาหกิจชุมชนส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 49.41 ปี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สมาชิกวิสาหกิจชุมชนดำรงตำแหน่งสมาชิกกลุ่ม 2) วิสาหกิจชุมชนส่วนใหญ่เกิดจากการส่งเสริมของหน่วยงาน มีที่มาของทุนในการประกอบกิจการจากการระดมทุนของสมาชิก จำนวนสมาชิกวิสาหกิจชุมชนเฉลี่ย 22 คน ระยะเวลาในการดำเนินการเฉลี่ย 4 ปี ประกอบกิจกรรมประเภทการผลิตสัตว์ ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มเฉลี่ย 1.78 ชนิด รายได้เฉลี่ยจากการจำหน่ายสินค้า/บริการต่อปี 66,416.67 บาท  รายจ่ายเฉลี่ยจากการผลิตสินค้า/บริการต่อปี 41,156.67 บาท ผลกำไรเฉลี่ยต่อปี 22,908.33 บาท  และผลิตภัณฑ์ชุมชนของวิสาหกิจชุมชนทั้งหมดไม่ได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน สมาชิกวิสาหกิจชุมชนมีการดำเนินการอยู่ในระดับปานกลาง 3 ประเด็น ได้แก่ ด้านการผลิต ด้านการบริหารจัดการ ด้านการตลาด และระดับน้อย 1 ประเด็น คือ ด้านการเงิน/บัญชี 3) ระดับปัญหาภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีปัญหาในระดับมาก 2 ประเด็นคือ ด้านการตลาด และด้านการเงิน/บัญชี ข้อเสนอแนะ คือ สมาชิกวิสาหกิจชุมชนควรจัดหาเงินทุนสำรองในการใช้จ่าย 4) แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน ได้แก่ (1) เพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์โดยส่งเสริมการแปรรูป และ นำเทคโนโลยี นวัตกรรมที่เหมาะสมมาใช้ในการผลิต (2) ส่งเสริมให้กลุ่มคนรุ่นใหม่เข้ามาเป็นสมาชิกเพื่อสืบทอดการดำเนินการของวิสาหกิจชุมชน  (3) ส่งเสริมการใช้สื่อออนไลน์ เพื่อการตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น เฟสบุ๊ค ไลน์ และแพลตฟอร์มต่างๆ (4) ปรับปรุงการจัดสรรผลกำไรอย่างเป็นธรรมและมีระบบชัดเจน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13634
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2659000984.pdf1.69 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น