Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13641
Title: | An Extension Guideline of Sugarcane Burning Mitigation Management for Collaborative Farm Members in Si Satchanalai District of Sukhothai Province แนวทางการส่งเสริมการจัดการลดผลกระทบจากการเผาอ้อยของสมาชิกแปลงใหญ่ ในอำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย |
Authors: | THANADET CHAMPA ธณเดช จำปา Sunan Seesang สุนันท์ สีสังข์ Sukhothai Thammathirat Open University Sunan Seesang สุนันท์ สีสังข์ [email protected] [email protected] |
Keywords: | การผลิตอ้อย การจัดการผลกระทบจากการเผาอ้อย การลดการเผาอ้อย เกษตรแปลงใหญ่ Sugarcane production Sugarcane burning mitigation management Sugarcane burning reduction Collaborative farm |
Issue Date: | 4 |
Publisher: | Sukhothai Thammathirat Open University |
Abstract: | The objectives of this research were to study 1) personal and socio-economic situations of sugarcane collaborative farm members, 2) situations and problems of sugarcane production, 3) knowledge of burning sugarcane effects, 4) an extension of sugarcane burning mitigation management from various agencies, 5) problems and suggestion for sugarcane burning mitigation management, and 6) an extension guideline for sugarcane burning mitigation management. This was a survey research, the population was 280 sugarcane farmers participating in collaborative farms in Si Satchanalai District, the sample was calculated by using Taro Yamane’s formula with an error level of 0.05 accounting for 165 farmers and selected by simple random sampling. The data were collected by a structural interview and analyzed by using descriptive statistics, SWOT Analysis was also applied. The research findings showed that 1) collaborative farm members had an average age of 54.18 years and finished primary education. They had averages of 3.86 family members and 2.53 farm labors. Averages of farm and sugarcane producing areas were 54.70 and 40.84 rai. The averages of annual farm, selling sugarcane, and non-farm incomes were 648,525.82, 521,672.48, and 203,211.65 baht respectively. They had an average 12.39 years of sugarcane production. 2) An average of sugarcane stump was 2.42 years. They used an average 1,244.85 kilograms per rai of sugarcane breeds which produced in their own planting area. The plantation areas were on lowland with sandy roam soil. They used chopped sugarcane leaves for soil improvement and applied chemical herbicide. The averages of sugarcane and other farm annual production costs were 341,000 and 106,377.78 baht. An average sugarcane yield was 9.36 tons per rai which were sold at average 1407.10 baht per ton. They had problems of sugarcane production at high level in the aspects of lack of water sources and high prices of fertilizer and chemical substances, while other aspects were rated at moderate level. 3) They had good knowledge of sugarcane burning effects in most aspects. 4) They indicated at low level in most aspects of an extension for sugarcane burning mitigation management from various agencies. 5) The overall problems in sugarcane leaf management were found to be at a moderate level, major issues were rated at a high level including lack of funding for leaf management and shortage of agricultural machinery needed for management operations. They expressed strong agreement with almost all aspects of these identified challenges. 6) An extension guideline for sugarcane burning mitigation management, the strategies included encouraging collaborative farm members using the machinery of the group for solving high price of farm machinery, reduction of sugarcane leave burn by using machinery for avoiding using labors, setting a demonstration farm in the area for learning, motivation, and practicing within the group and others. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของสมาชิกแปลงใหญ่อ้อย 2) สภาพและปัญหาการผลิตอ้อย 3) ความรู้เกี่ยวกับผลกระทบจากการเผาอ้อย 4) การได้รับการส่งเสริมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดการลดผลกระทบจากการเผาอ้อย 5) ปัญหาและข้อเสนอของสมาชิกแปลงใหญ่เกี่ยวกับการจัดการลดผลกระทบจากการเผาอ้อย และ 6) แนวทางการส่งเสริมการจัดการลดผลกระทบจากการเผาอ้อย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรที่เป็นสมาชิกกลุ่มแปลงใหญ่อ้อยในอำเภอ ศรีสัชนาลัย จำนวน 280 ราย กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน ความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่าง 165 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ผลการวิจัยพบว่า1) สมาชิกแปลงใหญ่อายุเฉลี่ย 54.18 ปี จบประถมศึกษา สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.86 คน แรงงานภาคการเกษตรภายในครัวเรือนเฉลี่ย 2.53 คน พื้นที่การเกษตรเฉลี่ย 54.70 ไร่ พื้นที่ปลูกอ้อยเฉลี่ย 40.84 ไร่ รายได้ภาคการเกษตรเฉลี่ย 648,525.82 บาท/ปี รายได้จากการจำหน่ายอ้อยเฉลี่ย 521,672.48 บาท/ปี รายได้นอกภาคการเกษตรเฉลี่ย 203,211.65 บาท/ปี ประสบการณ์ปลูกอ้อยเฉลี่ย 12.39 ปี 2) ระยะเวลาการไว้ตออ้อยเฉลี่ย 2.42 ปี แหล่งท่อนพันธุ์มาจากแปลงตนเอง เฉลี่ย 1,244.85 กก./ไร่ พื้นที่ปลูกอ้อยเป็นพื้นที่ราบลุ่ม เนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย ปรับปรุงดินโดยการไถสับใบอ้อย ใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชในแปลงอ้อย ต้นทุนการผลิตอ้อยเฉลี่ย 341,000 บาท/ปี รายจ่ายภาคการเกษตรอื่น ๆ เฉลี่ย 106,377.78 บาท/ปี ผลผลิตอ้อยที่ได้รับเฉลี่ย 9.36 ตัน/ไร่ ราคาเฉลี่ย 1,407.10 บาท/ตัน ปัญหาในการผลิตอ้อยอยู่ในระดับมาก ได้แก่ การขาดแคลนแหล่งน้ำ และราคาปุ๋ยและสารเคมี ส่วนปัญหาอื่น ๆ อยู่ในระดับปานกลาง 3 ) สมาชิกแปลงใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับผลกระทบจากการเผาอ้อยเป็นอย่างดีเกือบทุกประเด็น 4) การได้รับการส่งเสริมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดการลดผลกระทบจากการเผาอ้อยอยู่ในระดับน้อยจากทุกแห่งเกือบทุกประเด็น 5) ภาพรวมของปัญหาการจัดการใบอ้อยอยู่ในระดับปานกลาง โดยอยู่ในระดับมาก ได้แก่ การขาดเงินทุนในการจัดการใบอ้อย และการขาดแคลนเครื่องจักรการเกษตรที่ใช้ในการจัดการ ภาพรวมความคิดเห็นของสมาชิกเห็นด้วยอยู่ในระดับมากเกือบทุกประเด็น 6) แนวทางการส่งเสริมการจัดการลดผลกระทบจากการเผาอ้อย ได้แก่ ส่งเสริมให้สมาชิกกลุ่มแปลงใหญ่ใช้เครื่องจักรกลการเกษตรในรูปแบบกลุ่ม เพื่อเพิ่มการเข้าถึงเครื่องจักรกลทางการเกษตรที่มีราคาสูง และลดการเผาใบอ้อยก่อนการเก็บเกี่ยวที่มีสาเหตุมาจากการขาดแคลนแรงงานในการเก็บเกี่ยว ส่งเสริมให้มีการจัดทำแปลงเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการใบอ้อยปลอดการเผาในพื้นที่ เพื่อให้สมาชิกกลุ่มอื่น ๆ ศึกษา เรียนรู้ เพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจและนำไปปรับใช้ในแปลงตนเอง |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13641 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2659001156.pdf | 1.49 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.