Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13643
Title: ปัจจัยที่มีผลการผลิตทุเรียนนอกฤดูตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกรตำบลตลิ่งชัน อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช
Other Titles: Factors affecting to out of season durian production according to standards of good agricultural practice by farmers in Taling Chan Sub-district, Thasala District, Nakhon Si Thammarat Province
Authors: บำเพ็ญ เขียวหวาน
ชานน ฤทธิเดช
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
ทุเรียน--การผลิต
การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี--ไทย--นครศรีธรรมราช
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพส่วนบุคคล สภาพสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) สภาพการผลิต ความรู้และแหล่งความรู้ในการผลิตทุเรียนนอกฤดูและการปฏิบัติตามมาตรฐานทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร 3) ความคิดเห็น และความต้องการในการส่งเสริมการผลิตทุเรียนนอกฤดูตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร 4) ปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตทุเรียนนอกฤดูตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร  5) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการผลิตทุเรียนนอกฤดูตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบสำรวจ ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ คือ เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนนอกฤดูในตำบลตลิ่งชัน อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตรปี 2565 จำนวน 1,092 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน ที่ความคลาดเคลื่อน 0.07 โดยมีขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 174 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล โดยสถิติพรรณา ได้แก่ แจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 52.7 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีประสบการณ์ในการปลูกทุเรียนนอกฤดูเฉลี่ย 8.09 ปี จ้างแรงงานประจำเฉลี่ย 1.41 คน 2) พันธุ์ที่ปลูกคือ หมอนทอง เกษตรกรมีระดับความรู้เกี่ยวกับการผลิตทุเรียนนอกฤดู ในระดับมาก เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในการผลิตทุเรียนนอกฤดูอยู่ในระดับมากเช่นกัน แหล่งความรู้ของเกษตรกรผู้ผลิตทุเรียนนอกฤดูผ่านสื่อออนไลน์ อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือสื่อบุคคล เกษตรกรมีการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของการผลิตทุเรียนนอกฤดู คือ แหล่งน้ำสะอาดไม่มีการปนเปื้อนสิ่งอันตราย รองลงมาคืออุปกรณ์และพาหนะในการขนย้ายสะอาด ปราศจากการปนเปื้อนสิ่งอันตรายที่มีผล ต่อความปลอดภัยในการบริโภค 3) ความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีต่อการส่งเสริมการผลิตทุเรียนนอกฤดูตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะประเด็น การผลิตทุเรียนนอกฤดูตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีจะทำให้เกษตรกรมีรายได้จากการขายผลผลิตมากขึ้น และผลผลิตมีความคุ้มค่ากับการลงทุน และความต้องการการส่งเสริมการผลิตทุเรียนนอกฤดูตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี พบว่า เกษตรกรมีความต้องการการส่งเสริมการผลิตทุเรียนนอกฤดูตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี ภาพรวมทั้งหมดอยู่ในระดับมาก โดยมีความต้องการด้านความรู้มากที่สุด รองลงมาคือด้านการส่งเสริมจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมและหน่วยงานต่าง ๆ 4) ปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตทุเรียนนอกฤดูตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีมีผลเชิงบวกที่นัยสำคัญยิ่งที่ระดับ 0.01ได้แก่ ระดับการศึกษา มีผลเชิงบวกที่มีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ปัญหาของเกษตรกรในการผลิตทุเรียนนอกฤดูตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและมีผลเชิงลบได้แก่ แรงงานจ้างประจำ 5) ปัญหาในการปลูกทุเรียนนอกฤดูอยู่ในระดับปานกลาง โดยเฉพาะประเด็นปัญหาด้านการผลิตทุเรียนนอกฤดูตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีอยู่ในระดับน้อย รองลงมาคือด้านการส่งเสริมการปลูกทุเรียนนอกฤดู อยู่ในระดับน้อย ข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะประเด็นด้านวิธีการส่งเสริม  รองลงมาคือด้านประเด็นให้ความรู้
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13643
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2659001180.pdf4.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.