Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13645
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | PHATTARAWADEE SRISUTHAM | en |
dc.contributor | ภัทรวดี ศรีสุธรรม | th |
dc.contributor.advisor | Benchamas Yooprasert | en |
dc.contributor.advisor | เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ | th |
dc.contributor.other | Sukhothai Thammathirat Open University | en |
dc.date.accessioned | 2025-01-24T08:57:40Z | - |
dc.date.available | 2025-01-24T08:57:40Z | - |
dc.date.created | 2024 | |
dc.date.issued | 26/11/2024 | |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13645 | - |
dc.description.abstract | The objectives of this research were to study 1) basic social and economic conditions of farmers in Mueang Chainat district, Chainat province 2) the use of microbial pesticide in pest control 3) knowledge regarding the microbial pesticide in pest control 4) the receiving of the extension and needs for the extension on the use of microbial pesticide in pest control 5) problems and suggestions in the extension of the use of microbial pesticide in pest control. This research was survey research. The population of this study was 3,945 rice production farmers in the area of Mueang Chainat district, Chainat province as per the farmer registration database in 2022/23. The sample size of 195 people was determined by using Taro Yamane formula with the error value of 0.07 through simple random sampling method by lotto picking .Data were analyzed by using descriptive statistics such as frequency, percentage, minimum value, maximum value, mean, standard deviation, and ranking. The results of the research found that 1) most of the farmers were male with the average age of 52.82 years old, 33.8% of farmers completed lower secondary school education, had the average member in the household of 2.28 people, and had the average experience in rice farming of 31.84 years. 45.7% of them were not members in the group/agricultural institution, 76.3% did not hold any social position, and 43.1% used their own funding. They had the average rice production area of 25.93 Rai, 55.4% had their own land for rice farming, had the average cost of rice production of 5,408.71 Baht/Rai, and earned the average income from rice production of 13,491.77 Baht/Rai. 2) 91.30 % of farmers practiced in the spraying of Trichoderma spp. and Beauveria bassiana during the mild sunlight or in evening time. 87.20% practiced in the mixture at the ratio of Beauveria bassiana 250 grams per 20 liters of water. 3) Knowledge about microbial pesticides of farmers revealed that 64.1% of farmers had knowledge at the highest level. Second to that was 26.7% had knowledge at the high level. The aspect of knowledge about microbial pesticide revealed that 99.0% of farmers had knowledge regarding microbial pesticide with high safety to human, animal, and environment without pesticide residue in the aspect of knowledge about Trichoderma spp. 97.90% of farmers had knowledge regarding Trichoderma spp. which could control rice burn disease from the fungus and the aspect of knowledge about Beauveria bassiana. 97.90% of them had knowledge regarding the aspect of Beauveria bassiana and should not be mixed up together with the Trichoderma spp. was able to be a substitution of Beauveria bassiana 4) Farmers needed the extension regarding the knowledge about microbial pesticides at the highest level. The benefit of Trichoderma spp. and the attributes of Trichoderma spp. and the needs for extension method in the aspect of the needs for agricultural extension officers to give out suggestions or public relations in the knowledge about microbial pesticide. 5) Farmers faced with the problems regarding the support in the use of microbial pesticide at the highest level. The use of microbial pesticide did not have a better yield than the use of chemicals. They also recommended that farmers needed to participate in the training to give out the knowledge regarding disease and insect in the paddy fields. | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรในอำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท 2) สภาพการใช้ชีวภัณฑ์ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช 3) ความรู้เกี่ยวกับการใช้ชีวภัณฑ์ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช 4) สภาพการส่งเสริมและความต้องการการส่งเสริมการใช้ชีวภัณฑ์ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการใช้ชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดศัตรูพืช การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ในพื้นที่อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท ตามฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกร ปี 2565/66 จำนวนทั้งสิ้น 3,945 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน ที่ความคลาดเคลื่อน 0.07 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 195 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 52.82 ปี ร้อยละ 33.8 จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 2.28 คน มีประสบการณ์ทำนาเฉลี่ย 31.84 ปี ร้อยละ 45.7 ไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่ม/สถาบันเกษตรกร ร้อยละ 76.3 ไม่ได้มีการดำรงตำแหน่งทางสังคม เกษตรกรร้อยละ 43.1 ใช้ทุนของตนเอง มีพื้นที่ปลูกข้าวเฉลี่ย 25.93 ไร่ ร้อยละ 55.4 มีพื้นที่ทำนาเป็นของตนเอง มีต้นทุนในการทำนาเฉลี่ย 5,408.71 บาท/ไร่ มีรายได้จากการทำนาเฉลี่ย 13,491.77 บาท/ไร่ 2) เกษตรกรร้อยละ 91.30 มีการปฏิบัติในการฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์มาและเชื้อราบิวเวอร์เรียในเวลาแดดอ่อน หรือเวลาเย็น รองลงมาเกษตรกรร้อยละ 87.20 มีการปฏิบัติในการมีการผสมในอัตราส่วนเชื้อราบิวเวอร์เรีย 250 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร 3) ความรู้เกี่ยวกับชีวภัณฑ์ของเกษตรกร พบว่า เกษตรกรร้อยละ 64.1 มีความรู้อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาร้อยละ 26.7 มีความรู้อยู่ในระดับมาก โดยประเด็น ความรู้เกี่ยวกับชีวภัณฑ์ พบว่าเกษตรกรร้อยละ 99.0 มีความรู้ในประเด็นชีวภัณฑ์ มีความปลอดภัยสูงต่อมนุษย์ สัตว์ สิ่งแวดล้อม ไม่มีพิษตกค้าง ในประเด็นความรู้เกี่ยวกับเชื้อราไตรโคเดอร์มา เกษตรกรร้อยละ 97.90 มีความรู้ในประเด็นเชื้อราไตรโคเดอร์มา สามารถควบคุมโรคไหม้ข้าวที่เกิดจากเชื้อราได้ และประเด็นความรู้เกี่ยวกับเชื้อราบิวเวอร์เรีย เกษตรกรร้อยละ 97.90 มีความรู้ในประเด็นเชื้อราบิวเวอร์เรียไม่ควรนําไปผสมรวมกับเชื้อราไตรโคเดอร์มา เนื่องจากเชื้อราไตรโคเดอร์มาจะเจริญแทนเชื้อราบิวเวอร์เรีย 4) เกษตรกรมีความต้องการการส่งเสริมด้านความรู้เกี่ยวกับการใช้ชีวภัณฑ์ มากที่สุด ในประเด็นประโยชน์ของเชื้อราไตรโคเดอร์มา และลักษณะของเชื้อราไตรโคเดอร์มา และความต้องการด้านวิธีการส่งเสริม ในประเด็น ต้องการให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมมีการให้คำแนะนำหรือประชาสัมพันธ์ความรู้เกี่ยวกับชีวภัณฑ์ 5) เกษตรกรมีปัญหาด้านการสนับสนุนการใช้ชีวภัณฑ์ มากที่สุด ในประเด็น การใช้ชีวภัณฑ์ ไม่ได้ผลดีเท่าการใช้สารเคมี และข้อเสนอแนะ พบว่า เกษตรกรต้องการให้มีการอบรมให้ความรู้ในเรื่องโรคและแมลงในนาข้าว | th |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | Sukhothai Thammathirat Open University | |
dc.rights | Sukhothai Thammathirat Open University | |
dc.subject | เกษตรกรผู้ปลูกข้าว การใช้ชีวภัณฑ์ ป้องกันกำจัดศัตรูพืช | th |
dc.subject | :Rice production farmers | en |
dc.subject | The use of microbial pesticide | en |
dc.subject | Pest control prevention | en |
dc.subject.classification | Agricultural and Biological Sciences | en |
dc.subject.classification | Agriculture,forestry and fishing | en |
dc.title | Extension of Biopesticide Application for Plant Protection of Rice Farmers in Mueang Chainat District, Chainat Province | en |
dc.title | การส่งเสริมการใช้ชีวภัณฑ์ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในอำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท | th |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
dc.contributor.coadvisor | Benchamas Yooprasert | en |
dc.contributor.coadvisor | เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ | th |
dc.contributor.emailadvisor | [email protected] | |
dc.contributor.emailcoadvisor | [email protected] | |
dc.description.degreename | Master Agriculture in Agricultural Extension and Development (M.Ag. (Agricultural Extension and Development)) | en |
dc.description.degreename | เกษตรศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร)) | th |
dc.description.degreelevel | Master's Degree | en |
dc.description.degreelevel | ปริญญาโท | th |
dc.description.degreediscipline | Master of Agriculture (Agricultural and Development) | en |
dc.description.degreediscipline | เกษตรศาสตรมหาบัณฑิต (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร) | th |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2659001248.pdf | 3.11 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.