Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13645
Title: การส่งเสริมการใช้ชีวภัณฑ์ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในอำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท
Other Titles: Extension of biopesticide application for plant protection of rice farmers in Mueang Chainat District, Chainat Province
Authors: เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ
ภัทรวดี ศรีสุธรรม
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
นารีรัตน์ สีระสาร
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
ศัตรูพืช--การควบคุมทางชีววิทยา--ไทย--ชัยนาท
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรในอำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท 2) สภาพการใช้ชีวภัณฑ์ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช 3) ความรู้เกี่ยวกับการใช้ชีวภัณฑ์ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช  4) สภาพการส่งเสริมและความต้องการการส่งเสริมการใช้ชีวภัณฑ์ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการใช้ชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดศัตรูพืช การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ในพื้นที่อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท ตามฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกร ปี 2565/66 จำนวนทั้งสิ้น 3,945 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวย่างโดยใช้สูตรของทาโร  ยามาเน ที่ความคลาดเคลื่อน 0.07 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 195 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 52.82 ปี ร้อยละ 33.8 จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 2.28 คน มีประสบการณ์ทำนาเฉลี่ย 31.84 ปี ร้อยละ 45.7 ไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่ม/สถาบันเกษตรกร ร้อยละ 76.3 ไม่ได้มีการดำรงตำแหน่งทางสังคม เกษตรกรร้อยละ 43.1 ใช้ทุนของตนเอง มีพื้นที่ปลูกข้าวเฉลี่ย 25.93 ไร่ ร้อยละ 55.4 มีพื้นที่ทำนาเป็นของตนเอง มีต้นทุนในการทำนาเฉลี่ย 5,408.71 บาท/ไร่ มีรายได้จากการทำนาเฉลี่ย 13,491.77 บาท/ไร่ 2) เกษตรกรร้อยละ 91.30 มีการปฏิบัติในการฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์มาและเชื้อราบิวเวอร์เรียในเวลาแดดอ่อน หรือเวลาเย็น รองลงมาเกษตรกรร้อยละ 87.20 มีการปฏิบัติในการมีการผสมในอัตราส่วนเชื้อราบิวเวอร์เรีย 250 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร 3) ความรู้เกี่ยวกับชีวภัณฑ์ของเกษตรกร พบว่า เกษตรกรร้อยละ 64.1 มีความรู้อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาร้อยละ 26.7 มีความรู้อยู่ในระดับมาก โดยประเด็น ความรู้เกี่ยวกับชีวภัณฑ์ พบว่าเกษตรกรร้อยละ 99.0 มีความรู้ในประเด็นชีวภัณฑ์ มีความปลอดภัยสูงต่อมนุษย์ สัตว์ สิ่งแวดล้อม ไม่มีพิษตกค้าง ในประเด็นความรู้เกี่ยวกับเชื้อราไตรโคเดอร์มา เกษตรกรร้อยละ 97.90 มีความรู้ในประเด็นเชื้อราไตรโคเดอร์มา สามารถควบคุมโรคไหม้ข้าวที่เกิดจากเชื้อราได้ และประเด็นความรู้เกี่ยวกับเชื้อราบิวเวอร์เรีย เกษตรกรร้อยละ 97.90 มีความรู้ในประเด็นเชื้อราบิวเวอร์เรียไม่ควรนําไปผสมรวมกับเชื้อราไตรโคเดอร์มา เนื่องจากเชื้อราไตรโคเดอร์มาจะเจริญแทนเชื้อราบิวเวอร์เรีย 4) เกษตรกรมีความต้องการการส่งเสริมด้านความรู้เกี่ยวกับการใช้ชีวภัณฑ์ มากที่สุด ในประเด็นประโยชน์ของเชื้อราไตรโคเดอร์มา และลักษณะของเชื้อราไตรโคเดอร์มา และความต้องการด้านวิธีการส่งเสริม ในประเด็น ต้องการให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมมีการให้คำแนะนำหรือประชาสัมพันธ์ความรู้เกี่ยวกับชีวภัณฑ์ 5) เกษตรกรมีปัญหาด้านการสนับสนุนการใช้ชีวภัณฑ์ มากที่สุด ในประเด็น การใช้ชีวภัณฑ์ ไม่ได้ผลดีเท่าการใช้สารเคมี และข้อเสนอแนะ พบว่า เกษตรกรต้องการให้มีการอบรมให้ความรู้ในเรื่องโรคและแมลงในนาข้าว
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13645
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2659001248.pdf3.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.