Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13646
Title: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจต่อการดำเนินงานเงินทุนหมุนเวียนในการผลิตพันธุ์สัตว์น้ำของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดราชบุรีของเกษตรกร จังหวัดราชบุรี
Other Titles: Factors relating to farmer satisfaction towards the non-budgetary fund for produce aquatic fry in Ratchaburi Inland Aquaculture Research and Development Center Ratchaburi Province
Authors: บำเพ็ญ เขียวหวาน
อัญชลี นงค์นวล
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
นารีรัตน์ สีระสาร
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดราชบุรี--การเงิน
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สภาพทางสังคม และเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้มาซื้อพันธุ์สัตว์น้ำ 2) ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์น้ำและการดำเนินงานเงินทุนหมุนเวียนในการผลิตพันธุ์สัตว์น้ำของเกษตรกร 3) ความพึงพอใจต่อการดำเนินงานเงินทุนหมุนเวียนฯ และความต้องการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์น้ำของเกษตรกร 4) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในด้านความรู้ ด้านการให้บริการ และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ที่มีผลกับความพึงพอใจของเกษตรกรต่อการดำเนินงานเงินทุนหมุนเวียนในการผลิตพันธุ์สัตว์น้ำ 5) ปัญหาแลข้อเสนอแนะของเกษตรกรต่อการดำเนินงานเงินทุนหมุนเวียนในการผลิตพันธุ์สัตว์น้ำ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบสำรวจ ประชากรในการวิจัย คือ เกษตรกรที่มาซื้อพันธุ์สัตว์น้ำจากงานเงินทุนหมุนเวียนในการผลิตพันธุ์ปลา พันธุ์กุ้ง และพันธุ์สัตว์น้ำอื่นๆ ของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดราชบุรี ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม 2567 ที่ไม่ทราบจำนวนแน่นอน  คำนวนกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของคอแครน กำหนดสัดส่วนของประชากรที่ผู้วิจัยต้องการจะสุ่มร้อยละ 20 ความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 94 ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 159 ราย ทำการสุ่มตัวอย่างแบบพบโดยบังเอิญ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรส่วนมากเป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 44.6 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป และมีประสบการณ์ในเลี้ยงสัตว์น้ำเฉลี่ย 9.8 ปี  2) ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์น้ำและการดำเนินงานเงินทุนหมุนเวียนฯ อยู่ในระดับมาก โดยเกษตรกรได้รับความรู้ผ่านสื่อออนไลน์มากกว่าสื่ออื่นๆ 3) เกษตรกรมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานเงินทุนหมุนเวียนฯ ในระดับมากที่สุด โดยพึงพอใจต่อการให้บริการในด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการมากกว่าด้านอื่นๆ ความต้องการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์น้ำพบว่าอยู่ในระดับมาก โดยเกษตรกรมีความต้องการการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์น้ำในด้านปัจจัยการผลิตมากที่สุด 4) ปัจจัยเกี่ยวข้องกับความพึงพอใจของเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ ได้แก่ ระดับความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์น้ำ และระดับการได้รับความรู้จากแหล่งความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์น้ำและการดำเนินงานเงินทุนหมุนเวียนฯ 5) เกษตรกรมีความเห็นต่อระดับความรุนแรงของปัญหาในการเลี้ยงสัตว์น้ำในระดับปานกลาง โดยเฉพาะด้านต้นทุนการเลี้ยง ข้อเสนอแนะต่อการดำเนินงานเงินทุนหมุนเวียนฯ คือ ควรมีช่องทางติดต่อระหว่างเกษตรกรกับเจ้าหน้าที่ที่สะดวก รวดเร็ว และเข้าถึงได้ง่าย
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13646
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2659001263.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.