กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13648
ชื่อเรื่อง: | ความต้องการการส่งเสริมการผลิตและการใช้แหนแดงในนาข้าวของเกษตรกร ในอำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Extension needs of azolla production and usage in rice paddy of farmers in Mueang Sukhothai District, Sukhothai Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พลสราญ สราญรมย์ ภัทรา กล้าหาญ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา จินดา ขลิบทอง |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์ แหนแดง--การผลิต |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทั่วไปสภาพทางสังคมและสภาพทางเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกร (3) ความรู้และแหล่งความรู้ในการผลิตและการใช้แหนแดงของเกษตรกร (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการผลิตและการใช้แหนแดงและ (5) ความต้องการการส่งเสริมการผลิตและการใช้แหนแดงในนาข้าวของเกษตรกรประชากรที่ใช้ในศึกษาคือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในอำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัยที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร พ.ศ.2565 จำนวน 9,965 ราย กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน่ ค่าความคลาดเคลื่อน 0.08 ได้กลุ่มตัวอย่าง 154 ราย ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จัดเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัย พบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 53.79 ปี จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา มีรายได้ภาคการเกษตรเฉลี่ย 187,380.39 บาทต่อปี (2) ต้นทุนการทำนารวมเฉลี่ย 3,523.30 บาทต่อไร่ การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 สูตร 46-0-0 อัตราเฉลี่ย 26.61 กิโลกรัมต่อไร่ ครั้งที่ 2 สูตร 16-20-0 อัตราการเฉลี่ย 24.41 กิโลกรัมต่อไร่ (3) ความรู้ในการผลิตและการใช้แหนแดงของเกษตรกร พบว่า เกษตรกรมีความรู้อันดับแรกในเรื่องแหนแดงว่ามีโปรตีนสูงเหมาะนำไปเลี้ยงสัตว์และมีความรู้ อันดับสุดท้ายในเรื่องแหนแดงตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้ เกษตรกรได้รับความรู้จากช่องทางแบบบุคคลมากที่สุด (4) เกษตรกรมีปัญหาในการผลิตและการใช้แหนแดง ด้านการสนับสนุนปัจจัยการผลิตอยู่ในระดับมาก โดยปัญหาอันดับแรกคือการไม่มีพื้นที่ในการเพาะเลี้ยงแหนแดง (5) ความต้องการส่งเสริมพบว่า ด้านผู้ส่งเสริม เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ต้องการในระดับมาก ด้านเนื้อหาต้องการการส่งเสริมการใช้แหนแดงอยู่ในระดับปานกลางและด้านวิธีการส่งเสริมต้องการการส่งเสริมอันดับแรก คือ แบบกลุ่มบุคคล |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13648 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2659001305.pdf | 1.19 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น