กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13657
ชื่อเรื่อง: การส่งเสริมการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานของเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension of integrated pest management on durain in Kabang District,Yala Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พลสราญ สราญรมย์
ณิชากร ศรประสิทธิ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
บำเพ็ญ เขียวหวาน
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
ทุเรียน--โรคและศัตรูพืช--การควบคุมแบบผสมผสาน
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สังคม และเศรษฐกิจ 2) ความรู้และการได้รับความรู้เกี่ยวกับการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน 3) สภาพการจัดการทุเรียนแบบผสมผสาน 4) ความต้องการการส่งเสริมการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะการส่งเสริมการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานประชากร คือ เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนในอำเภอกาบัง จังหวัดยะลา ที่ทำการขึ้นทะเบียนเกษตรกร ปี พ.ศ. 2566  จำนวน 542 ราย กำหนดกลุ่มตัวอย่างจากสูตรทาโร่ ยามาเนที่ความคลาดเคลื่อนได้ 0.07 ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 149 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสัมภาษณ์ แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลสถิติโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 50.40 ปี พื้นที่ปลูกทุเรียนเฉลี่ย 3.32 ไร่ รายได้ภาคการเกษตรเฉลี่ย 93,949.66 บาท รายจ่ายในการผลิตทุเรียนในรอบปีที่ผ่านมาเฉลี่ย  23,756.38 บาท เกษตรกรร้อยละ 37.6  เป็นสมาชิกกลุ่มแปลงใหญ่ 2) ความรู้เกี่ยวกับการการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานในทุเรียน พบว่า เกษตรกรมีความรู้ในระดับมาก ข้อที่เกษตรกรมีความรู้น้อยที่สุด คือการใช้ความร้อน สามารถกำจัดแมลงศัตรูพืชชนิดต่างๆ ที่อยู่ในดิน การได้รับความรู้เกี่ยวกับการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน พบว่า เกษตรกรได้รับความรู้มากที่สุดจากหน่วยงานราชการ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วิทยุ/โทรทัศน์ และเว็บไซต์ 3) สภาพการจัดการทุเรียนแบบผสมผสาน พบว่า เกษตรกรปฏิบัติมากที่สุด คือ กำจัดวัชพืช ไม่ให้รก เพื่อปรับสภาพแวดล้อมไม่ให้เหมาะต่อการอยู่อาศัยของโรค 4) ความต้องการการส่งเสริมการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน พบว่า ด้านเนื้อหา ลำดับ 1 คือ วิธีการเลือกใช้สารเคมีอย่างถูกต้อง ด้านวิธีการ คือ การส่งเสริมรายบุคคล ด้านนักส่งเสริม คือ เจ้าหน้าที่ภาครัฐ 5) เกษตรกรมีปัญหาภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีปัญหาอันดับ 1 คือ วิธีฟิสิกส์ เนื่องจากขาดความรู้ในการปรับแต่งเครื่องมือเอง เกษตรกรให้ข้อเสนอแนะด้านการผลิต คือ ควรจัดทำแปลงเรียนรู้/แปลงสาธิต/แปลงต้นแบบการจัดการศัตรูพืชผสมผสานแบบครบทุกวิธี
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13657
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2659001545.pdf1.1 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น