กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13664
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านในจังหวัดบึงกาฬ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors affecting the participation according to the role of village agricultural volunteers in Bueng Kan Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ กนิษฐา โกละกะ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์ อาสาสมัครในงานเกษตรกรรม--ไทย--บึงกาฬ |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สังคม เศรษฐกิจและปัจจัยอื่น ๆ ของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านในจังหวัดบึงกาฬ 2) การมีส่วนร่วมตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน 3) ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะต่อการมีส่วนร่วมตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน งานวิจัยเรื่องนี้ เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ศึกษา คือ อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านในจังหวัดบึงกาฬ ที่ได้รับการแต่งตั้งและขึ้นทะเบียนเป็นอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านจังหวัดบึงกาฬ ปี 2566 จำนวน 617 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรทาโร ยามาเน ที่ค่าความคลาดเคลื่อน 0.07 ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 154 ราย ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยการจับฉลาก เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดอันดับ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณผลการวิจัย พบว่า 1) อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 46.49 ปี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. มีตำแหน่งทางสังคมเป็นกรรมการหมู่บ้าน อาศัยอยู่ในชุมชนเฉลี่ย 37.32 ปี ปฏิบัติงานในตำแหน่งอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านเฉลี่ย 3.44 ปี พื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 16.04 ไร่ มีความรู้เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านในระดับมาก ส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนการปฏิบัติงานจากหน่วยงานของรัฐด้านความรู้จากการเยี่ยมเยียน พูดคุย และขอคำเสนอแนะหรือดูแลการปฏิบัติงานจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรอย่างสม่ำเสมอ 2) อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านมีส่วนร่วมตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านในระดับมากที่สุด โดยมีส่วนร่วมมากที่สุดในการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลในประเด็นการรับรองข้อมูลของเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร 3) ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน คือ จำนวนพื้นที่ทำการเกษตร ระยะเวลาการอาศัยอยู่ในชุมชน ความรู้เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน และการได้รับการสนับสนุนการปฏิบัติงานจากหน่วยงานของรัฐ และ 4) ปัญหาหลักในการมีส่วนร่วม พบว่า ไม่ได้รับค่าตอบแทนในการปฏิบัติงาน ขาดวัสดุ อุปกรณ์ในการทำงาน และได้ข้อเสนอแนะว่าควรมีกลไกในการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และส่งเสริมให้ได้รับค่าตอบแทนในการปฏิบัติงาน |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13664 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2659001750.pdf | 1.1 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น